เพชรบุรีอีกรูปหนึ่งที่ทำตะกรุดได้เข้มขลัง ตะกรุดมหาระงับ นารายณ์สะกดทัพ และอื่นๆ เรียกได้ว่า
นักเลงในสมัยก่อนยังนำตะกรุดของหลวงพ่อ ไปลองแขวนไว้ที่เสาบ้านใครเป็นได้หลับไม่ตื่นกันทั้งบ้าน จะทำเสียงดังอย่างไรก็ไม่ตื่นกันเลยทีเดียว เรื่องเสน่ห์ก็เป็นเยี่ยมครับ
ท่านพระครูสุชาตเมธาจารย์ หรือหลวงพ่อกุน เกิดเมื่อวันพุธ เดือน ๖ ปีวอก พ.ศ.๒๔๐๓ ณ บ้าน
หนองกาทอง ตำบลโรงเข้ จังหวัดเพชรบุรี บิดาของท่านชื่ออะไรไม่มีใครทราบ ส่วนมารดามีชื่อว่า ม่วง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๕ คน เป็นผู้ชายทั้งหมด เมื่อเยาว์วัยมีนิสัยโน้มเอียงไปทางสมณะ กล่าวคือชอบนั่งบนจอมปลวกแล้ว เทศน์ให้เพื่อนฟังและในเวลาต่อมาท่านก็ได้มาอยู่วัดวังบัว ซึ่งอยู่ห่าง
จากบ้านประมาณ ๓ กิโลเมตร และได้บรรพชาเป็นสามเณร จนอายุครบ ๒๐ ปี ก็ได้อุปสมบทเป็น
พระภิกษุอยู่ที่วัดนี้
ในขณะที่บวชเป็นพระใหม่ ท่านมีความอุตสาหะเป็นอย่างมาก ได้เดินทางไปศึกษาวิชากับอาจารย์
แจ้ง บ้านอยู่ทางวัดดอนไก่เตี้ย และได้ศึกษาวิชาการที่วัดข่อยศึกษาทางช่างศิลป์กับ ท่านอาจารย์มุ่ย วัดใหญ่สุวรรณาราม และคุณพ่อฤทธิ์ (หนังใหญ่) วัดพลับพลาชัย ท่านบวชอยู่ ๓ พรรษา ก็ได้ย้ายมาอยู่
วัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน) สมัยพระครูสุวรรณมุนี ต่อมาได้เป็นสมุห์และเมื่อพระครูสุวรรณมุนี
มรณะภาพแล้ว ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) ต่อมาได้รับพระราชทาน
สมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูสุชาตเมธาจารย์
ทุกพรรษาท่านจะขึ้นไปนั่งบำเพ็ญกัมฏฐานในถ้ำ ในวิหารเล็กประมาณ ๗ วัน ท่านเล่าให้ศิษย์ฟังว่า ครั้งหนึ่งก่อนจะนั่งเข้าที่ ปลัดเทพ (พระครูสมณกิจพิศาล) เอาน้ำชามาถวายท่านรับไว้ พอเริ่มจะเข้าที่
ปรากฏเห็นเช่นนั้นอีก ท่านว่าเหมือนของจริงทุกอย่าง พอเอื้อมมือจะรับนึกขึ้นได้ว่าเพิ่งมาถวายเมื่อ
สักครู่นี้ จึงไม่รับท่านว่าเกือบเสียท่า
นอกจากนี้ท่านยังได้นำพระภิกษุในวัดออกธุดงค์ปีละหลายๆ องค์ และออกอยู่หลายปี พระภิกษุที่ออก
ธุดงค์กับท่านจะไปด้วยความมั่นใจ ไม่ว่าท่านจะไปทางเหนือหรือทางใต้ เป็นต้องมีพระภิกษุสมัครไป
ด้วยเสมอ
ตะกรุดของหลวงพ่อนั้นกล่าวขานกันว่า ตำหรับทำตะกรุดนี้จารึกไว้ในสมุดจีนใบปกเขียว ๆ รูปที่
เขียนเป็นเรื่องรามเกียรติ์ ตอนหนุมานถวายแหวน ขั้นตอนการทำก็พิถีพิถันมากหลวงพ่อท่านใช้ฤกษ์
เสาร์ห้า เป็นฤกษ์ในการลงอักขระเลยยันต์และปลุกเสก สถานที่ปลุกเสกท่านก็ไปปลุกเสกในป่าช้า
เจ็ดป่าช้า มีป่าช้าวัดพลับ วัดแก่นเหล็ก และวัดพระนอน เป็นต้น หลังจากนั้นพอถึงคืนวันเพ็ญเดือน
สิบสองหลวงพ่อท่านก็จะใช้ลูกสบ้ามอญ ลบถูรอยเหล็กจารที่ท่านได้จารไว้ออก และพอถึงฤกษ์เสาร์ห้า
ก็กลับไปจารที่ป่าช้าอีก ท่านทำเช่นนั้นจนครบ ๓ รอบท่านถึงจะนำออกมาแจกจ่ายแก่บรรดาลูกศิษย์
ลูกหา พุทธคุณนั้นเหล่าเรื่องมหาเสน่ห์ก็ไม่แพ้พระขุนแผนสำนักไหนเลยนะครับ ด้านตะกรุดโทน
มงกุฎพระเจ้ายันต์ที่ท่านลงและปลุกเสกในตะกรุด เรื่องมหาอุด อยู่ยงคงกระพันก็เยี่ยมครับ แต่สิ่งหนึ่ง
ที่หลวงพ่อท่านสั่งทุกคนที่ได้ของท่านไปว่า ขออย่างเดียวอย่าไปขโมยของเขา ถ้าไปขโมยของเขาก็จะ
ใช้ไม่ขึ้น
ของดีของหลวงพ่อกุนเลื่องลือมาก สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ปลัดเมืองเพชรบุรี ยังเคยมาขอของท่าน
เพื่อไปคุมครองตัวเลยครับ แต่ของดีของหลวงพ่อนั้นมีน้อย เพราะกว่าท่านจะทำออกมาแต่ละอย่างใช้
เวลามากขั้นตอนเยอะ เราๆ ท่านๆ คนรุ่นใหม่เลยหาของหลวงพ่อชมได้ยากครับ แต่ผู้เขียนยังโชคดี
หน่อยครับที่ได้เห็นได้คลี่ตะกรุดของท่าน หลายดอกอยู่เหมือนกันครับ
พระครูสุชาตเมธาจารย์ หรือหลวงพ่อกุน มีชีวิตอยู่จนถึงปี พ.ศ.๒๔๖๓ ท่านก็ป่ายด้วยโรคที่รักษา
ไม่หาย และมรณภาพลงด้วยอายุ ๖๐ ปี ๔๐ พรรษา นักเป็นการเสียบูรพาจารย์ที่สำคัญของเมืองเพชรบุรีไปอีกหนึ่งรูป
หลวงพ่อกุน วัดพระนอน วัดท่านติดเขาวังครับน่าเที่ยมมาก
เป็นวัดเก่าแก่อีกวัดหนึ่งของ จ.เพชรบุรี เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์
ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในสี่ของพระพุทธไสยาสน์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีความยาวถึง 43 เมตร ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง
เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามยิ่ง เชื่อกันว่าสร้างด้วยฝีมือสกุลช่างในสมัยอยุธยา
หมอนหนุนของพระพุทธไสยาสน์องค์นี้มีลักษณะเป็นทรงกลมแทนที่จะมีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยม
เดิมพระพุทธไสยาสน์ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯให้สร้างหลังคาคลุมไว้
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการซ่อมหลังคาใหม่ และสร้างผนังล้อมรอบองค์เป็นวิหารพระพุทธไสยาสน์
วัดพระนอน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขาวัง (พระนครคีรี) เป็นวัดเก่าแก่ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้าขึ้นเมื่อใด
สันนิษฐานว่าเป็นวั่ดที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นโบราณสถานประกาศให้ขึ้นทะเบียนเมื่อวันทั่ 8 มีนาคม พ.ศ.2478
เป็นพระพุทธรูปนอนขนาดใหญ่องค์หนึ่งในจำนวน 4 องค์ ที่มีอยู่ในเมืองไทย
วัดพระนอน เพชรบุรีนอกจากจะมีพระพุทธรุปสำคัญให้ได้สักการะกราบไหว้แล้ว
ยังมีพระเกจิอาจารย์ที่เลื่องชื่อในอดีต ได้แก่พระครูสุชาตเมธาจารย์ หรือ หลวงพ่อกุน วัดพระนอนครับ
เครื่องรางที่ขึ้นชื่อของหลวงพ่อกุน คือ ตะกรุดไมยราพสะกดทัพ
เป็นวัดเก่าแก่อีกวัดหนึ่งของ จ.เพชรบุรี เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์
ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในสี่ของพระพุทธไสยาสน์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีความยาวถึง 43 เมตร ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง
เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามยิ่ง เชื่อกันว่าสร้างด้วยฝีมือสกุลช่างในสมัยอยุธยา
หมอนหนุนของพระพุทธไสยาสน์องค์นี้มีลักษณะเป็นทรงกลมแทนที่จะมีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยม
เดิมพระพุทธไสยาสน์ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯให้สร้างหลังคาคลุมไว้
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการซ่อมหลังคาใหม่ และสร้างผนังล้อมรอบองค์เป็นวิหารพระพุทธไสยาสน์
วัดพระนอน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขาวัง (พระนครคีรี) เป็นวัดเก่าแก่ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้าขึ้นเมื่อใด
สันนิษฐานว่าเป็นวั่ดที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นโบราณสถานประกาศให้ขึ้นทะเบียนเมื่อวันทั่ 8 มีนาคม พ.ศ.2478
เป็นพระพุทธรูปนอนขนาดใหญ่องค์หนึ่งในจำนวน 4 องค์ ที่มีอยู่ในเมืองไทย
วัดพระนอน เพชรบุรีนอกจากจะมีพระพุทธรุปสำคัญให้ได้สักการะกราบไหว้แล้ว
ยังมีพระเกจิอาจารย์ที่เลื่องชื่อในอดีต ได้แก่พระครูสุชาตเมธาจารย์ หรือ หลวงพ่อกุน วัดพระนอนครับ
เครื่องรางที่ขึ้นชื่อของหลวงพ่อกุน คือ ตะกรุดไมยราพสะกดทัพ
ตะกรุดไมยราพสะกดทัพของหลวงพ่อกุนเป็นตะกรุดโทน ที่มีจำนวนการสร้างไม่มากนัก สัณนิฐานว่าประมาณ ๓๐๐ ดอก
ปัจจุบันเป็นตะกรุดในตำนานที่หายากยิ่ง พุทธคุณโดดเด่นทางคงกระพัน กันเขี้ยวงา และเป็นสะกดผู้คนให้หลับใหล
ได้เคยฟังเรื่องราวอานุภาพของตะกรุดไมยราพสะกดทัพ จากหลวงพ่อครูชาอาจารย์ที่เคารพนับถือ ได้บอกเล่าเรื่องราวไว้ว่า
"เคยเห็นเหมือนกัน ตอนนั้นยังไม่ค่อยได้สนใจทางนี้ มุ่งแต่เรียนทางธรรม ไปบิณฑบาต บ้านโยมคนหนึ่ง ยินรอสักพักเห็นเงียบผิดปกติ
มารู้ตอนหลังว่า หลับหมดทั้งบ้าน เพราะเมื่อคืนมีคนเอาตะกรุดของหลวงพ่อกุนไปแขวนไว้ที่รอดของบ้าน ขึ้นไปหุงข้าวต้มแกงกิน
ไม่มีใครรู้สึกตัว แต่ท่านห้ามไม่ให้หยิบของมานะ ผิดครู กินได้อย่าเอาของเขา คนโบราณเขาถือสัจจะมั่นคง ของถึงได้ขลัง
จากนั้นก็สนใจด้านนี้เรื่อยมา "
ท่านผู้เล่าบอกว่า "ตะกรุดหลวงพ่อกุน สะกดคนได้จริงๆ"
ตะกรุดชุดนี้จะจารเป็นทั้งอักขระัยันต์และรูปในเรื่องรามเกีิยรติ์ครับ ภาพประมาณ หนุมานถวายแหวน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ตะกรุดวันเพ็ญ"
ปัจจุบันการสร้างตะกรุดสายนี้สืบทอดมาถึงวัดเขากระจิว และวัดชายนา
ถึงจะไม่มีการจัดสร้างตะกรุดไมยราพสะกดทัพโดยตรง แต่ยังมีการสร้างตะกรุดวันเพ็ญพอกครั่งอยู่บ้าง ตะกรุดมหาระงับก็พอมี
ที่ชัดเจนคือ สายวิชา มหาอุดและคงกระพันตามตำรับเดิมยังคงมีอยู่
ส่วนตะกรุดไมยราพสะกดทัพ คงเป็นตำนานให้บอกเล่ากันต่อไป ของจริงเจ้าของเขาหวงกันสุดๆ
ปัจจุบันเป็นตะกรุดในตำนานที่หายากยิ่ง พุทธคุณโดดเด่นทางคงกระพัน กันเขี้ยวงา และเป็นสะกดผู้คนให้หลับใหล
ได้เคยฟังเรื่องราวอานุภาพของตะกรุดไมยราพสะกดทัพ จากหลวงพ่อครูชาอาจารย์ที่เคารพนับถือ ได้บอกเล่าเรื่องราวไว้ว่า
"เคยเห็นเหมือนกัน ตอนนั้นยังไม่ค่อยได้สนใจทางนี้ มุ่งแต่เรียนทางธรรม ไปบิณฑบาต บ้านโยมคนหนึ่ง ยินรอสักพักเห็นเงียบผิดปกติ
มารู้ตอนหลังว่า หลับหมดทั้งบ้าน เพราะเมื่อคืนมีคนเอาตะกรุดของหลวงพ่อกุนไปแขวนไว้ที่รอดของบ้าน ขึ้นไปหุงข้าวต้มแกงกิน
ไม่มีใครรู้สึกตัว แต่ท่านห้ามไม่ให้หยิบของมานะ ผิดครู กินได้อย่าเอาของเขา คนโบราณเขาถือสัจจะมั่นคง ของถึงได้ขลัง
จากนั้นก็สนใจด้านนี้เรื่อยมา "
ท่านผู้เล่าบอกว่า "ตะกรุดหลวงพ่อกุน สะกดคนได้จริงๆ"
ตะกรุดชุดนี้จะจารเป็นทั้งอักขระัยันต์และรูปในเรื่องรามเกีิยรติ์ครับ ภาพประมาณ หนุมานถวายแหวน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ตะกรุดวันเพ็ญ"
ปัจจุบันการสร้างตะกรุดสายนี้สืบทอดมาถึงวัดเขากระจิว และวัดชายนา
ถึงจะไม่มีการจัดสร้างตะกรุดไมยราพสะกดทัพโดยตรง แต่ยังมีการสร้างตะกรุดวันเพ็ญพอกครั่งอยู่บ้าง ตะกรุดมหาระงับก็พอมี
ที่ชัดเจนคือ สายวิชา มหาอุดและคงกระพันตามตำรับเดิมยังคงมีอยู่
ส่วนตะกรุดไมยราพสะกดทัพ คงเป็นตำนานให้บอกเล่ากันต่อไป ของจริงเจ้าของเขาหวงกันสุดๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น