...ในระหว่างที่หลวงพ่อทองศุข อินทโชโต เป็นเจ้าอาวาสวัดโตนดหลวงนั้น มีพระคู่ใจของท่านเสมือนพระเลขาอยู่สององค์คือ ...(หลวงพ่อนิ่ม) ซึ่งต่อมาไปเป็นเจ้าอาวาสวัดเขาน้อย และอีกองค์หนึ่งคือ ...(หลวงพ่อจันทร์) ต่อมาไปเป็นเจ้าอาวาสวัดมฤคทายวัน...
...ทั้งสององค์นี้ได้รับการถ่ายทอดพุทธาคมจากหลวงพ่อทองศุขเอาไว้มาก เสมือนศิษย์รุ่นน้องอีกสององค์คือ ...(หลวงพ่อแผ่ว) ซึ่งต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดโตนดหลวง และ...(หลวงพ่อย้อน) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดโตนดหลวงองค์ปัจจุบัน...
...นอกจากนี้ลูกศิษย์ของหลวงพ่อทองศุขในเพชรบุรีมีอีกหลายองค์ เช่น หลวงพ่อจ่าง วัดเขื่อนเพชร, หลวงพ่อหวล วัดนิคม, หลวงพ่อเฮง(ห่วย) วัดห้วยทรายใต้, หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง, หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก เป็นต้นฯ...
...หลวงพ่อนิ่ม วัดเขาน้อย ท่านเป็นศิษย์ใกล้ชิดก้นกุฏิของ หลวงพ่อทองศุข ท่านได้จำพรรษาอยู่รับใช้ใกล้ชิดหลวงพ่อทองศุข ที่วัดโตนดหลวงอยู่นานถึง 20 ปี...
...หลวงพ่อนิ่ม สถานะเดิมชื่อ นิ่ม นามสกุล วัฒนพิชัย เกิดวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2452 ที่ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี ใช้ชีวิตในวัยเด็กช่วยบิดา-มารดาทำงานจนอายุได้ 22 ปี จึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดโตนดหลวง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี โดยมี พระครูแช่ม วัดนายาง จ.เพชรบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวัน วัดหนองศาลา จ.เพชรบุรี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระครูพินิจสุตคุณ (ทองศุข อินทโชโต) วัดโตนดหลวง จ.เพชรบุรี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า (มังคโล)...
...หลังจากนั้นหลวงพ่อนิ่มได้อยู่จำพรรษา ณ วัดโตนดหลวง รับใช้ใกล้ชิด หลวงพ่อทองศุข ในฐานะพระเลขา ดูแลการทำงานแทนหลวงพ่อ ขณะเดียวกันก็ศึกษาวิชาพุทธาคมจากหลวงพ่อทองศุข โดย หลวงพ่อทองศุขเมตตาไว้ใจและมอบวิชาพุทธาคมที่มีอยู่ทั้งหมดให้หลวงพ่อนิ่ม รวมทั้งอบรมกรรมฐานและวิปัสสนา จนหลวงพ่อนิ่มมีความเชี่ยวชาญทำของได้ขลัง...
...นาย เชิด วันเต็ม ชาวบ้านปากน้ำ อ.ปราณบุรี เล่าว่า มงคลวัตถุของหลวงพ่อนิ่มนั้นทุกรุ่น ล้วนมีความขลังความศักดิ์สิทธิ์ทั้งสิ้น โดยเฉพาะ พระปิดตาเนื้อผง เนื้อขี้ควาย เด็กในตลาดปราณบุรีทุกคนที่แขวน เมื่อไปหาหมอจะฉีดยาไม่เข้า จนต้องถอดพระออกจากคอ ส่วนตะกรุด ของหลวงพ่อนั้น นายเชิดว่าสามารถลอยน้ำได้ ลุงสนิท พลอยน้อย ผู้ร่วมสร้างวัดกับหลวงพ่อนิ่มเล่าว่า ผ้ายันต์ ของหลวงพ่อนิ่มมีความศักดิ์สิทธิ์มาก ทุกครั้งเมื่อมีการจัดงานที่บ้านจะต้องเอาผ้ายันต์ของหลวงพ่อนิ่มขึ้นไว้ ปลายเสาจุดธูปบอก รับรองว่าฝนไม่ตกทำให้งานเสีย...
...นอกจากนั้นลุงสนิท พลอยน้อย ได้เล่าว่า ขณะสร้างวัดเขาน้อยกับหลวงพ่อนิ่มนั้น ได้มีพ่อของ ครูแล ชื่นโม ร.ร.วัดเขาน้อย ขุดพบพระพุทธรูป สมัยอมราวดี ปางประทานพร เนื้อสัมฤทธิ์ หัก จึงเก็บไว้ในบ้าน หลังจากนั้นพ่อของครูแลก็ป่วยรักษาเท่าใดก็ไม่หาย หลวงพ่อนิ่มถามว่าที่บ้านมีพระหักๆ อยู่ไหม ครูแลบอกว่ามี จึงให้เอามาถวายไว้ที่วัด ปรากฏว่าหลังจากนั้นไม่นานก็หายป่วย พระองค์นี้มีความศักดิ์สิทธิ์มาก คนตาบอดมาอธิษฐานขอให้หายก็หายได้ หลวงพ่อนิ่มจึงได้สร้างองค์ใหญ่ไว้ และได้สร้างเหรียญรูปพระอมราวดีประทานพรไว้ด้วย ต่อมา นายดี จันทรเสน ได้ขุดพบรอยพระพุทธบาทที่บริเวณเขาน้อย หลวงพ่อนิ่มจึงได้สร้างมณฑปใส่ไว้และมีงานประจำปีทุกปี แสดงว่าบริเวณวัดเขาน้อยอาจมีร่องรอยเป็นสถานที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง มาแต่ในอดีตกาล...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น