วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

"""หลวงพ่อห่วย จกฺกวโร"""


พระครูฌานวัชราภรณ์ (หลวงพ่อ ห่วย จกฺกวโร)
เดิมนายห่วย มีนามสกุลประมงกิจ เกิดวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 วันอาทิตย์ เดือนอ้าย ปีชวด ปัจจุบันอายุ 76 ปี บิดานายก่วง มารดานางโทน บ้านบางเก่า ต.บางเก่า อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี การศึกษาจบชั้นประถมปีที่ 4
หลวงพ่อห่วย อุปสมบทเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2499 ณ วัดโตนดหลวง ซึ่งเป็นวัดที่มีความสำคัญและมีชื่อเสียง! หลวงพ่อทองสุข อินฺทโชโต (พระครูพินิจสุตคุณ) เป็นเจ้าอาวาสและเป็นพระอุปัชฌาย์


เดิมชื่อ ห่วย นามสกุล ประมงกิจ
เกิด ๓ ฯ๖ ๑๑ ค่ำ ปีชวด ตรงกับวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479
บิดา นายก่อง ประมงกิจ มารดา นางทน ประมงกิจ
ณ บ้านบางเก่า ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
อุปสมบทเมื่อ อายุ 21 ปี ในวันที่ ๕ ฯ๑๕ ๗ ปีวอก วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2499
ณ วัดโตนดหลวง ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
พระอุปัชฌาย์ คือ พระครูพินิจสุตคุณ(หลวงพ่อทองสุข) วัดโตนดหลวง
พระกรรมวาจาจารย์ คือ พระครูวชิรรังษี(หลวงพ่อจันทร์) วัดมฤคทายวัน
พระอนุศาสวนาจารย์ คือ พระครูพินิจสมณคุณ(หลวงพ่อหล่อ) วัดหนองศาลา
วิทยาฐานะ พ.ศ. 2492 สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนประชาบาลบ้านบางเก่า ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
พ.ศ. 2501 สอบได้นักธรรมโท จากสำนักเรียนวัดโตนดหลวง ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
พ.ศ. 2514 เป็นรองเจ้าอาวาสวัดโตนดหลวง
พ.ศ. 2515 เป็นกรรมวาจาจารย์
พ.ศ. 2532 หัวหน้าสำนักฯ และสร้างวัดห้วยทรายใต้
พ.ศ. 2537 สำเร็จหลักสูตร การบริหารทั่วไป และการสอนพระปริยัติธรรมตามโครงการถวายความรู้พระสงฆ์ ของคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรี และสถาบันราชภัฏเพชรบุรี
พ.ศ. 2539 สอบได้นักธรรมเอก จากสำนักเรียนวัดเขาทะโมน
เจ้าอาวาสวัดห้วยทรายใต้
พ.ศ. 2540 เจ้าคณะตำบลชะอำ
พ.ศ. 2543 รับสมณศักดิ์ พระครูฌานวัชราภรณ์
พ.ศ. 2544 เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. 2548 เจ้าคณะอำเภอชะอำ

สาเหตุที่มาเป็นเจ้าอาวาส วัดห้วยทรายใต้ วันที่ 6 กรกฏาคม 2532 ได้มีชาวบ้านห้วยทรายใต้ และคณะกรรมการวัดพิจารณาว่าวัดไม่มี ผู้ปกครองดูแล ไม่มีผู้นำทางที่พึ่งทางจิตใจ บรรดาชาวบ้านจึงพร้อมใจกันไปกราบอาราธนา พระห่วย จกฺกวโร รองเจ้าอาวาสวัดโตนดหลวงซึ่งท่านเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อทองสุข อินฺทโชโต อดีตเจ้าอาวาสวัดโตนดหลวง คนส่วนใหญ่ในเขตจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดใกล้เคียงจะรู้จักดีโดยเฉพาะนักนิยมวัตถุมงคลต่าง ๆ ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อทองสุข อินฺทโชโต ท่านได้อธิษฐานจิตปลุกเสกแจกจ่ายให้แล้ว จะเก็บรักษาและห่วงแหนเพราะมีอานุภาพต่าง ๆ ปรากฏแก่ผู้เคารพเลื่อมใสศรัทธานำวัตถุมงคลของพระคุณท่านติดตัวและมีไว้ในบ้านเรือน หลวงพ่อทองสุข ท่านยังเป็นพระหมอที่รักษาโรคร้ายต่าง ๆ ที่มีตัวและไม่มีตัว (โรคที่ไม่มีตัวคือโรคที่เกิดจากเวทย์มนต์คาถา เช่น ถูกเสน่ห์ ยาแฝด และผีเข้าเจ้าทำ เป็นต้น) และหลวงพ่อทองสุข ยังมีความเชี่ยวชาญ ในทางสมถวิปัสสนากรรมฐาน มีทั้งบรรชิต และคฤหัสถ์มากมายได้มาขอสมัครตัว เป็นศิษย์ของท่าน
โบราณท่านกล่าวไว้ว่า "ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น" หรือ "เชื่อไม่ทิ้งแถว" ซึ่งเป็นความจริงตามที่คนโบราณท่านว่าไว้ เพราะหลวงพ่อวัดห้วยทรายใต้องค์ปัจจุบัน คือ พระครูฌานวัชราภรณ์ (หลวงพ่อห่วย จกฺกวโร) ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาการด้านต่าง ๆ จากการเรียนรู้ จากประสบการณ์ การกระทำจากหลวงพ่อทองสุข อินฺทโชโต ได้ดีพอสมควรจนชาวบ้านทั่วไปมักพากันพูดสรรเสริญว่าหลวงพ่อห่วยเป็นศิษย์ก้นกุฏิของหลวงพ่อทองสุของค์หนึ่ง
หลังจากที่หลวงพ่อห่วยท่านได้รับอาราธนาจากชาวบ้าน และคณะกรรมการวัดห้วยทรายใต้ ท่านมิอาจขัดศรัทธาได้ และอีกประการหนึ่ง ท่านเป็นผู้รู้อุปการคุณของผู้มีพระคุณ กล่าวคือเมื่อหลายปีก่อน หลวงพ่อห่วยท่านได้นำโยมมารดาของท่านมาให้หลวงพ่อโต จุนฺโทรักษาโรคตาและจากการที่ได้คลุกคลีอยู่ร่วมเสนาสนะกับหลวงพ่อโต ทำให้หลวงพ่อโตเกิดความนิยมชื่นชมในอัธยาศัยไมตรี และการประพฤติปฏิบัติในศีลาจารวัตร หลวงพ่อโตท่านได้กล่าวชักชวนให้หลวงพ่อห่วยมาอยู่ด้วยกัน ประกอบกับตอนนั้นหลวงพ่อห่วยยังมีภารกิจในทางสำนักวัดโตนดหลวงอยู่ ท่านจึงได้พูดอย่างอ่อนน้อมถ่อมตนว่า "กระผมไม่มีความสามารถและยังไม่พร้อม"
ต่อมาหลวงพ่อโตท่านได้อาพาธอย่างหนักใกล้จะมรณภาพ ท่านเรียกกรรมการวัดที่ไปพยาบาลท่านมาใกล้เตียงท่าน หลวงพ่อโตท่านได้กล่าวกับกรรมการวัดว่า "เมื่อฉันตายแล้วขอให้ไปนิมนต์หลวงพ่อห่วยมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านเราให้ได้เพราะฉันเชื่อว่าท่านองค์นี้จะเป็นผู้นำทางศาสนาและทำให้วัดเจริญรุ่งเรืองได้ดี อย่าลืม.. ต้องนิมนต์ท่านมาให้ได้" กล่าวจบหลวงพ่อโตท่านมีสีหน้าสดชื่นและรอยยิ้มปรากฏ แต่ดวงตาของท่านค่อย ๆ หรี่ลงเหมือนคนนอนหลับอย่างมีความสุข เป็นความสุขชั่วนิรันดร์ หลวงพ่อโตท่านสู่สุคติภพแล้ว หากญาณวิถีแห่งจิตของหลวงพ่อโตท่านสามารถรับรู้ได้ในปัจจุบันนี้ ท่านคงจะต้องกล่าวด้วยปิติโสมนัสว่า "สาธุ" แน่แท้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น