.
วัดตโหนดหลวงได้ถึงสองหลัง (พ.ศ.2481) นับว่าท่านหลวงปู่พิมพ์เป็นผู้หนึ่ง ที่สำเร็จวิทยาคมในตำหรับ หลวงปู่ทองศุข โดยหลวงปู่ทองศุข เอง เป็นผู้ให้ความไว้วางใจ หลังจากที่ท่านได้สำเร็จวิทยาคุณในสายหลวงปู่ทองศุข วัดตโหนดหลวงแล้ว ท่านยังเป็นผู้ใฝ่การศึกษาก็ขวนขวายหา พระอาจารย์องค์อื่นๆเพื่อร่ำเรียนวิทยาคมต่อไป ในสมัยนั้นมีพระเถระรูปหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรีที่ยิ่งยง ด้วยวิทยาคมที่แปลกประหลาด หาวิทยาคมสายใดจะเทียบเคียงได้ยาก ด้วยวิทยาคุณ ที่ประสิทธิให้ศิษย์ มีความพิศดาร และเป็นลักษณะเฉพาะและเป็นวิชาสูงสุดทางไสยเวทสยาม แขนงหนึ่ง นั่นคือวิชาฝังเข็มทองคนองฤทธิ์นั่นเอง พระเกจิอาจารย์รูปนี้ ชื่อพระอาจารย์สมพงษ์ วัดหนองไม้เหลือง จังหวัดเพชรบุรี ในสมัยนั้นมี ผู้มาฝากตัวเรียนวิชาเข็มทองนี้ กับพระอาจารย์สมพงษ์กันเป็นจำนวนมาก แต่หาผู้ที่สำเร็จยากมาก เพราะต้องมีมานะบากบั่นทำจริง ฝึกกันจริงๆจึงจะสำเร็จได้ การฝังเข็มเป็นไสยเวท ที่มีมาช้านาน และเป็นความเชื่อของคนในสมัยนั้น การฝังเข็มนี่มีหลายตำรา ว่ากันทั้งเข็มเย็บผ้า เข็มสามกษัตริย์ เข็มสัตตะโลหะ แต่มักเป็นเข็มตาย คือฝังแล้วอยู่กับที่แบบฝังตะกรุด กับหลวงพ่อคูณที่วัดบ้านไร่ เมืองโคราช แต่วิชาที่หลวงปู่พิมพ์ที่ท่านเรียน กับพระอาจารย์สมพงษ์นี้พิสดารกว่าครับ คือหากทำสำเร็จแล้วเข็มทองคำ ที่ประจุอาคมเมื่อฝังผ่านชั้นหนังจะแสดงอิทธิคุณ เหมือนมีชีวิตพลิกตัวระเบิดเนื้อด้วยอำนาจอาคม ไปตามส่วนต่างๆของร่างกาย
ผู้ฝังได้โดยไม่เกิดอันตรายใดๆ เข็มนี้ไปได้ทั่วตัวเว้น ตากับหัวใจ ที่ลงอาคมกรึงไว้ อย่างแน่นหนา และเป็นเคล็ดสำคัญที่วิทยาคมสำนักอื่น มิอาจถอดถอนได้เลย เรื่องเข็มที่วิ่งไปได้ทั่วตัวนี่ไม่ใช่เรื่องที่คุยกันเล่นๆ มีหลักฐานที่เป็นประจักษ์พยานโดยการถ่ายพิมพ์เอกเรย์มาแล้ว และผู้ที่ฝังเข็มหาก ถือองค์ภาวนาได้ จะสามารถเรียกเข็มทอง ให้ระเบิดเนื้อไปที่ส่วนใดๆของร่างกายโดยไม่เป็นอันตรายได้ เป็นความมหัศจรรย์อย่างเอกอุ ของวิทยาคมสายนี้ ส่วนอานุภาพของเข็มทอง เมื่อแสดงอิทธิฤทธิให้ประจักษ์ขนาดนี้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าวิเศษขนาดไหน เรียกได้ว่าครอบจักรวาลเลยทีเดียว เมื่อท่านหลวงปู่พิมพ์ได้รับ การถ่ายทอดวิชามาจากพระอาจารย์สมพงษ์ แล้วท่านต้องออกธุดงค์ เพื่อหาที่สงัดบำเพ็ญจิตให้เกิดอานุภาพ จึงจะสำเร็จวิชานี้ได้เพราะวิชานี้ หากพลังจิตไม่เข้มแข็ง อย่างเอกอุสุดยอดแล้ว จะไม่สามารถทำให้เข็มที่ฝังแสดงอานุภาพได้เลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น