วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

""หลวงปู่พิมพ์ (มาลัย)มาลโย""


หลวงปู่พิมพ์ (มาลัย) พื้นเพท่านเป็นคนหนองรีโดยกำเนิด โยมบิดาชื่อว่า พา โยมมารดาชื่อ อ่วม เป็นชาวจังหวัดเพชรบุรีท่านเกิดในสกุล มาลัย ประมาณ พ.ศ.2441 ที่บ้านหนองรีนี่เอง ท่านเป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 5 คน ชิวิตในวัยเยาว์ท่านดำเนินอย่างเรียบง่ายเหมือนชาวชนบททั่วๆ เมื่ออายุครบเกณฑ์ท่านได้เข้าเป็นทหารรับใช้ชาติในหน่วยเสนารักษ์ในจังหวัดราชบุรีและอยู่ต่อเรื่อยมา จนประมาณ๖ปี ก็เกิดเบื่อหน่ายในฆารวาสวิสัย ชะรอยจะเป็นบารมีที่ท่าน สร้างสมมาในอดีตจึงมีวาสนากับผ้ากาสาวพัสตร์ นิยมในเพศบรรพชิตจึงลาออกจากทหาร มาอุปสมบทที่วัดตโหนดหลวง จังหวัดเพชรบุรี โดยมี พระอาจารย์แช่ม วัดบางนาเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปูทองศุข อินทโชโต วัดตโหนดหลวง(พระเถระรูปนี้ท่านเป็นผู้ทรงวิทยาคมที่ยิ่งยงมากท่านหนึ่ง) เป็นพระกรรมวาจา เมื่ออุปสมบทแล้ว พระอุปัชฌาย์ให้ฉายาว่า มาลโย เมื่อท่านหลวงปู่พิมพ์ซึ่งขณะนั้นเป็นภิกษุใหม่ก็ได้ร่ำเรียนพระวินัย และปริยัติตามแนวทางแห่ง พระพุทธศาสนาอย่างคร่ำเคร่ง แล้วท่านยังได้รับความเมตตาถ่ายทอด วิชาไสยเวทย์จากหลวงปู่ทองศุข วัดตโหนดหลวง ซึ่งถือว่าเป็นพระคณาจารย์ ที่มีชื่อเสียงและบารมีมากรูปหนึ่ง ในสยามขณะนั้น ถึงขนาดมีการร่ำลือว่าผู้ที่มีบุญบารมีสูงยิ่งของประเทศในขณะนั้น ยังมาฝากตัวเป็นศิษย์ จนเป็นตำนานเล่าขานกันมาถึงปัจจุบัน อาจเป็นเหตุที่หลวงปู่พิมพ์ ท่านมีศักดิ์เป็นหลานสนิทของหลวงปู่ทองศุข วัดตโหนหลวง โดยที่โยมมารดา ของท่านเป็นพี่สาวหลวงปู่ทองศุข จึงทำให้ท่านได้รับความเมตตามากเป็นพิเศษ ท่านหลวงปู่พิมพ์ แม้จะมีศักดิ์เป็นหลานหลวงปู่ทองศุขท่าน ก็ไม่ถือดีกลับตั้งมั่นมุ่งมานะฝึกฝนเล่าเรียนสรรพวิชาที่ หลวงปู่ทองศุข วัดตโหนดหลวง เมตตาสั่งสอนให้โดยไม่ปิดบังอำพราง ด้วยความวิริยะ และบุญบารมี ที่ท่านหลวงปูพิมพ์ สั่งสมมาในอดีต ไม่นานท่านก็สำเร็จวิชาต่างๆทำได้เข้มขลังจนเป็นที่ไว้วางใจ ของหลวงปู่ทองศุข วัดตโหนดหลวง ขนาดให้หลวงปู่พิมพ์ (ซึ่งยังเพิ่งบวชได้ไม่นาน) เป็นอาจารย์สักยันต์ครู หลวงปู่ทองศุข (ตอนท่านก็ยังมีชิวิตอยู่)จนรวบรวมปัจจัยก่อสร้างกุฏิ
.
วัดตโหนดหลวงได้ถึงสองหลัง (พ.ศ.2481) นับว่าท่านหลวงปู่พิมพ์เป็นผู้หนึ่ง ที่สำเร็จวิทยาคมในตำหรับ หลวงปู่ทองศุข โดยหลวงปู่ทองศุข เอง เป็นผู้ให้ความไว้วางใจ หลังจากที่ท่านได้สำเร็จวิทยาคุณในสายหลวงปู่ทองศุข วัดตโหนดหลวงแล้ว ท่านยังเป็นผู้ใฝ่การศึกษาก็ขวนขวายหา พระอาจารย์องค์อื่นๆเพื่อร่ำเรียนวิทยาคมต่อไป ในสมัยนั้นมีพระเถระรูปหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรีที่ยิ่งยง ด้วยวิทยาคมที่แปลกประหลาด หาวิทยาคมสายใดจะเทียบเคียงได้ยาก ด้วยวิทยาคุณ ที่ประสิทธิให้ศิษย์ มีความพิศดาร และเป็นลักษณะเฉพาะและเป็นวิชาสูงสุดทางไสยเวทสยาม แขนงหนึ่ง นั่นคือวิชาฝังเข็มทองคนองฤทธิ์นั่นเอง พระเกจิอาจารย์รูปนี้ ชื่อพระอาจารย์สมพงษ์ วัดหนองไม้เหลือง จังหวัดเพชรบุรี ในสมัยนั้นมี ผู้มาฝากตัวเรียนวิชาเข็มทองนี้ กับพระอาจารย์สมพงษ์กันเป็นจำนวนมาก แต่หาผู้ที่สำเร็จยากมาก เพราะต้องมีมานะบากบั่นทำจริง ฝึกกันจริงๆจึงจะสำเร็จได้ การฝังเข็มเป็นไสยเวท ที่มีมาช้านาน และเป็นความเชื่อของคนในสมัยนั้น การฝังเข็มนี่มีหลายตำรา ว่ากันทั้งเข็มเย็บผ้า เข็มสามกษัตริย์ เข็มสัตตะโลหะ แต่มักเป็นเข็มตาย คือฝังแล้วอยู่กับที่แบบฝังตะกรุด กับหลวงพ่อคูณที่วัดบ้านไร่ เมืองโคราช แต่วิชาที่หลวงปู่พิมพ์ที่ท่านเรียน กับพระอาจารย์สมพงษ์นี้พิสดารกว่าครับ คือหากทำสำเร็จแล้วเข็มทองคำ ที่ประจุอาคมเมื่อฝังผ่านชั้นหนังจะแสดงอิทธิคุณ เหมือนมีชีวิตพลิกตัวระเบิดเนื้อด้วยอำนาจอาคม ไปตามส่วนต่างๆของร่างกาย

ผู้ฝังได้โดยไม่เกิดอันตรายใดๆ เข็มนี้ไปได้ทั่วตัวเว้น ตากับหัวใจ ที่ลงอาคมกรึงไว้ อย่างแน่นหนา และเป็นเคล็ดสำคัญที่วิทยาคมสำนักอื่น มิอาจถอดถอนได้เลย เรื่องเข็มที่วิ่งไปได้ทั่วตัวนี่ไม่ใช่เรื่องที่คุยกันเล่นๆ มีหลักฐานที่เป็นประจักษ์พยานโดยการถ่ายพิมพ์เอกเรย์มาแล้ว และผู้ที่ฝังเข็มหาก ถือองค์ภาวนาได้ จะสามารถเรียกเข็มทอง ให้ระเบิดเนื้อไปที่ส่วนใดๆของร่างกายโดยไม่เป็นอันตรายได้ เป็นความมหัศจรรย์อย่างเอกอุ ของวิทยาคมสายนี้ ส่วนอานุภาพของเข็มทอง เมื่อแสดงอิทธิฤทธิให้ประจักษ์ขนาดนี้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าวิเศษขนาดไหน เรียกได้ว่าครอบจักรวาลเลยทีเดียว เมื่อท่านหลวงปู่พิมพ์ได้รับ การถ่ายทอดวิชามาจากพระอาจารย์สมพงษ์ แล้วท่านต้องออกธุดงค์ เพื่อหาที่สงัดบำเพ็ญจิตให้เกิดอานุภาพ จึงจะสำเร็จวิชานี้ได้เพราะวิชานี้ หากพลังจิตไม่เข้มแข็ง อย่างเอกอุสุดยอดแล้ว จะไม่สามารถทำให้เข็มที่ฝังแสดงอานุภาพได้เลย

"""หลวงพ่อห่วย จกฺกวโร"""


พระครูฌานวัชราภรณ์ (หลวงพ่อ ห่วย จกฺกวโร)
เดิมนายห่วย มีนามสกุลประมงกิจ เกิดวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 วันอาทิตย์ เดือนอ้าย ปีชวด ปัจจุบันอายุ 76 ปี บิดานายก่วง มารดานางโทน บ้านบางเก่า ต.บางเก่า อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี การศึกษาจบชั้นประถมปีที่ 4
หลวงพ่อห่วย อุปสมบทเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2499 ณ วัดโตนดหลวง ซึ่งเป็นวัดที่มีความสำคัญและมีชื่อเสียง! หลวงพ่อทองสุข อินฺทโชโต (พระครูพินิจสุตคุณ) เป็นเจ้าอาวาสและเป็นพระอุปัชฌาย์


เดิมชื่อ ห่วย นามสกุล ประมงกิจ
เกิด ๓ ฯ๖ ๑๑ ค่ำ ปีชวด ตรงกับวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479
บิดา นายก่อง ประมงกิจ มารดา นางทน ประมงกิจ
ณ บ้านบางเก่า ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
อุปสมบทเมื่อ อายุ 21 ปี ในวันที่ ๕ ฯ๑๕ ๗ ปีวอก วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2499
ณ วัดโตนดหลวง ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
พระอุปัชฌาย์ คือ พระครูพินิจสุตคุณ(หลวงพ่อทองสุข) วัดโตนดหลวง
พระกรรมวาจาจารย์ คือ พระครูวชิรรังษี(หลวงพ่อจันทร์) วัดมฤคทายวัน
พระอนุศาสวนาจารย์ คือ พระครูพินิจสมณคุณ(หลวงพ่อหล่อ) วัดหนองศาลา
วิทยาฐานะ พ.ศ. 2492 สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนประชาบาลบ้านบางเก่า ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
พ.ศ. 2501 สอบได้นักธรรมโท จากสำนักเรียนวัดโตนดหลวง ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
พ.ศ. 2514 เป็นรองเจ้าอาวาสวัดโตนดหลวง
พ.ศ. 2515 เป็นกรรมวาจาจารย์
พ.ศ. 2532 หัวหน้าสำนักฯ และสร้างวัดห้วยทรายใต้
พ.ศ. 2537 สำเร็จหลักสูตร การบริหารทั่วไป และการสอนพระปริยัติธรรมตามโครงการถวายความรู้พระสงฆ์ ของคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรี และสถาบันราชภัฏเพชรบุรี
พ.ศ. 2539 สอบได้นักธรรมเอก จากสำนักเรียนวัดเขาทะโมน
เจ้าอาวาสวัดห้วยทรายใต้
พ.ศ. 2540 เจ้าคณะตำบลชะอำ
พ.ศ. 2543 รับสมณศักดิ์ พระครูฌานวัชราภรณ์
พ.ศ. 2544 เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. 2548 เจ้าคณะอำเภอชะอำ

สาเหตุที่มาเป็นเจ้าอาวาส วัดห้วยทรายใต้ วันที่ 6 กรกฏาคม 2532 ได้มีชาวบ้านห้วยทรายใต้ และคณะกรรมการวัดพิจารณาว่าวัดไม่มี ผู้ปกครองดูแล ไม่มีผู้นำทางที่พึ่งทางจิตใจ บรรดาชาวบ้านจึงพร้อมใจกันไปกราบอาราธนา พระห่วย จกฺกวโร รองเจ้าอาวาสวัดโตนดหลวงซึ่งท่านเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อทองสุข อินฺทโชโต อดีตเจ้าอาวาสวัดโตนดหลวง คนส่วนใหญ่ในเขตจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดใกล้เคียงจะรู้จักดีโดยเฉพาะนักนิยมวัตถุมงคลต่าง ๆ ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อทองสุข อินฺทโชโต ท่านได้อธิษฐานจิตปลุกเสกแจกจ่ายให้แล้ว จะเก็บรักษาและห่วงแหนเพราะมีอานุภาพต่าง ๆ ปรากฏแก่ผู้เคารพเลื่อมใสศรัทธานำวัตถุมงคลของพระคุณท่านติดตัวและมีไว้ในบ้านเรือน หลวงพ่อทองสุข ท่านยังเป็นพระหมอที่รักษาโรคร้ายต่าง ๆ ที่มีตัวและไม่มีตัว (โรคที่ไม่มีตัวคือโรคที่เกิดจากเวทย์มนต์คาถา เช่น ถูกเสน่ห์ ยาแฝด และผีเข้าเจ้าทำ เป็นต้น) และหลวงพ่อทองสุข ยังมีความเชี่ยวชาญ ในทางสมถวิปัสสนากรรมฐาน มีทั้งบรรชิต และคฤหัสถ์มากมายได้มาขอสมัครตัว เป็นศิษย์ของท่าน
โบราณท่านกล่าวไว้ว่า "ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น" หรือ "เชื่อไม่ทิ้งแถว" ซึ่งเป็นความจริงตามที่คนโบราณท่านว่าไว้ เพราะหลวงพ่อวัดห้วยทรายใต้องค์ปัจจุบัน คือ พระครูฌานวัชราภรณ์ (หลวงพ่อห่วย จกฺกวโร) ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาการด้านต่าง ๆ จากการเรียนรู้ จากประสบการณ์ การกระทำจากหลวงพ่อทองสุข อินฺทโชโต ได้ดีพอสมควรจนชาวบ้านทั่วไปมักพากันพูดสรรเสริญว่าหลวงพ่อห่วยเป็นศิษย์ก้นกุฏิของหลวงพ่อทองสุของค์หนึ่ง
หลังจากที่หลวงพ่อห่วยท่านได้รับอาราธนาจากชาวบ้าน และคณะกรรมการวัดห้วยทรายใต้ ท่านมิอาจขัดศรัทธาได้ และอีกประการหนึ่ง ท่านเป็นผู้รู้อุปการคุณของผู้มีพระคุณ กล่าวคือเมื่อหลายปีก่อน หลวงพ่อห่วยท่านได้นำโยมมารดาของท่านมาให้หลวงพ่อโต จุนฺโทรักษาโรคตาและจากการที่ได้คลุกคลีอยู่ร่วมเสนาสนะกับหลวงพ่อโต ทำให้หลวงพ่อโตเกิดความนิยมชื่นชมในอัธยาศัยไมตรี และการประพฤติปฏิบัติในศีลาจารวัตร หลวงพ่อโตท่านได้กล่าวชักชวนให้หลวงพ่อห่วยมาอยู่ด้วยกัน ประกอบกับตอนนั้นหลวงพ่อห่วยยังมีภารกิจในทางสำนักวัดโตนดหลวงอยู่ ท่านจึงได้พูดอย่างอ่อนน้อมถ่อมตนว่า "กระผมไม่มีความสามารถและยังไม่พร้อม"
ต่อมาหลวงพ่อโตท่านได้อาพาธอย่างหนักใกล้จะมรณภาพ ท่านเรียกกรรมการวัดที่ไปพยาบาลท่านมาใกล้เตียงท่าน หลวงพ่อโตท่านได้กล่าวกับกรรมการวัดว่า "เมื่อฉันตายแล้วขอให้ไปนิมนต์หลวงพ่อห่วยมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านเราให้ได้เพราะฉันเชื่อว่าท่านองค์นี้จะเป็นผู้นำทางศาสนาและทำให้วัดเจริญรุ่งเรืองได้ดี อย่าลืม.. ต้องนิมนต์ท่านมาให้ได้" กล่าวจบหลวงพ่อโตท่านมีสีหน้าสดชื่นและรอยยิ้มปรากฏ แต่ดวงตาของท่านค่อย ๆ หรี่ลงเหมือนคนนอนหลับอย่างมีความสุข เป็นความสุขชั่วนิรันดร์ หลวงพ่อโตท่านสู่สุคติภพแล้ว หากญาณวิถีแห่งจิตของหลวงพ่อโตท่านสามารถรับรู้ได้ในปัจจุบันนี้ ท่านคงจะต้องกล่าวด้วยปิติโสมนัสว่า "สาธุ" แน่แท้

"""หลวงพ่อผล เตชธมโม"""


ประวัติ หลวงพ่อผล วัดหนองแขม
สถานภาพปัจจุบัน
สมศักดิ์ พระครูวิวิตสมาจาร
นามเดิม ผล
ฉายา เตชธมโม
อายุ 76 ปี
พรรษา 56 พรรษา
วุฒิทางการศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ตำบลท่ายาง
อำเภอท่ายาง จังหวัด เพชรบุรี นักธรรมเอก พระสังฆาธิการชั้นสูง
สถานภาพเดิม
ชื่อ ผล
นามสกุล จันทร์อินพรม
เกิด วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2478 ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีกุน
หมู่ที่ 7 บ้านหนองบ้วย ตำบลท่ายาง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
บิดา นายชื่น จันทร์อินพรม มีภรรยา 2 คน
มารดา นางต่อม ใจกล้า มีบุตร 1 คน
นางส่าน จันทร์อินพรม ถึงแก่กรรม
มารดา นางมา จันทร์อินพรม มีบุตร 12 คน คือ
1.นางทองคำ จันทร์อินพรม ถึงแก่กรรม
2.นายตุน จันทร์อินพรม ถึงแก่กรรม
3.นายพรม จันทร์อินพรม
4.นางสาย จันทร์อินพรม ถึงแก่กรรม
5.นายสุข จันทร์อินพรม ถึงแก่กรรม
6.นางหริ่ม จันทร์อินพรม
7.นางแหร่ม แซ่ซิ้ม ถึงแก่กรรม
8.นางหรุ่ม ภู่เจริญ ปัจจุบันบวชชี
9.นายจันทร์ จันทร์อินพรม ถึงแก่กรรม
10.นางสาวอินทร์ จันทร์อินพรม ถึงแก่กรรม
11.นางสาวผ่อน จันทร์อินพรม ถึงแก่กรรม
12.พระครูวิวิตสมาจาร (ผล จันทร์อินพรม)

อุปสมบท วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 ณ วัดบรรพตาวาส (เขากระจิว) ตำบลท่ายาง
อำเภอท่ายางจังหวัดเพชรบุรี และจำพรรษาวัดนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 รวม 18 พรรษา
จำพรรษาที่วัดสหธรรมิการาม (หนองแขม) พ.ศ. 2516-2538 รวม 22 พรรษา
พระอุปัชฌาย์ พระสุทธิสารสุธี เจ้าอาวาสวัดมหาสมณาราม (เขาวัง) อำเภอเมือง
จังหวัดเพชรบุรี
พระกรรมวาจารย์ พระครูสมุห์พร้อม วัดมหามสณาราม (เขาวัง)
พระอนุสาวนาจารย์ พระครูสมุห์ทอง เจ้าอาวาสวัดบรรตาวาส (เขากระจิว)

สมศักดิ์ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2521 เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรชั้นตรี
เจ้าอาวาสวัดราษฎรในราชทินนามที่พระครูวิวิตสมาจาร

5 ธันวาคม พ.ศ. 2526 เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรชั้นโท
เจ้าอาวาสวัดราษฎรในราชทินนามที่พระครูวิวิตสมาจาร

5 ธันวาคม พ.ศ. 2532 เป็นเจ้สาคณะตำบลชั้นโท
ในราชทินนามที่พระครูวิวิตสมาจาร

วิทยฐานะทางการศึกษา
พ.ศ.2490 สำเร็จการศึกษาวิชาสามัญชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองบ้วย
ตำบลท่ายาง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
พ.ศ. 2498 สอบได้นักธรรมชั้นตรี
พ.ศ. 2499 สอบได้นักธรรมชั้นโท
พ.ศ. 2502 สอบได้นักธรรมชั้นเอก
พ.ศ. 2519 จบการศึกษาโรงเรียน พระสังฆาธิการชั้นสูง ที่วัดบวรนิเวศวิหาร
พ.ศ. 2522 เข้าอบความรู้ระดับเจ้าอาวาส
พ.ศ. 2500ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนนักธรรมประจำโรงเรียนปริยัติธรรมศรัทธาสามัคคี
วัดบรรตาวาส (เขากระจิว)
พ.ศ. 2516 รักษาการเจ้าอาวาสวัดสหธรรมิการาม (หนองแขม)
พ.ศ. 2517 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส วัดสหธรรมิการาม วันที่ 9 กรกฎาคม
พ.ศ. 2530 ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะตำบลเมื่อวันที่ 14 เมษายน

พระครูวิวิตสมาจาร ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย สอบได้นักธรรมตรี โท เอก
ตามลำดับ แลได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนนักธรรมประจำโรงเรียนปริยัติธรรมศรัทธาสามัคคี ของวับรรตาวาส และวัดสหธรรมิการาม
หลวงพ่อเป็นพระนักปฏิบัติมาโดยตลอด สมัยที่ท่านอยู่วัดบรรตาวาส
ท่านจะคอยช่วยเหลือหลวงพ่อทองอยู่เสมอ เช่น เรื่องการทุบหิน การสร้างโบสถ์
การสอนนักธรรม การอบรมดูแลพระลูกวัด การอบรมดูแลลูกศิษย์วัด การสวดท่องปาฎิโมกข์
การทำความสะอาดบริเวณวัด และการดูแลสาธารณสมบัติของวัด
หลวงพ่อเป็นเจ้าอาวาสวัดสหธรรมิการาม เมื่อปี พ.ศ. 2516
ท่านดำเนินการปรับปรุงวัดและเสนาสนะให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น
สะอาดงดงาม ให้พระภิกษาสามเณรปฏิบัติตามพระธรรมวินัย มีพระและสามเณรเพิ่มขึ้นเรื่อย
ๆ ตลอดจนเรื่องการพัฒนนาสร้างสรรค์ความเจริญในท้องถิ่น
โดยเฉพาะการช่วยเหลือพีฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนและสิ่งสาธารณะประโยชน์ต่าง ๆ
เช่นโรงเรียน สถานีอนามัยหมู่บ้าน ถนน ประปา
นอกจากนี้แล้วหลวงพ่อยังได้ดำเนินการพัฒนาและกิจกรรมสร้างสรรค์ต่อสังคมและชุมชน
อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา อาทิ ได้สร้างถนนด้านหลังวัดสำหรับติดต่อหมู่บ้าน
เพื่อให้ชุมชนสะดวกในการติดต่อไปมากับวัดและชุมชนอื่น
ก่อให้เกิดความสะดวกแก่ประชาชนเป็นจำนวนมาก

ในด้านสาธารณูปโภค ท่านได้ขุดลอกคูน้ำคลองสามสายถึงวัดและหมู่บ้าน
ขุดลอกสระเพื่อให้ประชาชนและพระใช้ในการอุปโภคบริโภค
จัดทำประปาสำหรับวัดและหมู่บ้านที่ใกล้เคียงวัด
นับเป็นความเอื้ออาทรที่หลวงพ่อได้เมตตาต่อชาวบ้านเป็นอย่างยิ่ง

ด้านการศึกษา หลวงพ่อได้ตระหนักถึงความสำคัญเป็นอย่างมาก
ท่านได้อุปการะดูแลให้ความสนใจอย่างต่อเนื่องตลอดมา
ตั้งแต่ช่วยวางแผนการย้ายอาคารเรียน ก่อสร้างอาคารเรียนใหม่
การมอบวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนทุนการศึกษาให้กับนักเรียนเป็นประจำ
เด็กนักเรียนคนใดขาดแคลนเรื่องอาหารกลางวัน
ท่านก็เมตตาให้ไปรับประทานอาหารที่วัดได้ทุกวัน ท่านได้เป็นประธานกรรมการศึกษา
ช่วยบริการดูแลโรงเรียนจนทำให้กิจกรรมของโรงเรียนบ้านหนองแขมดำเนินไปด้วยดี
จัดการประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง

การบริการชุมชนด้านอนามัย ซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในหมู่บ้าน
ท่านก็ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นเช่นเดียวกัน ท่านได้มอบที่ดินของวัดจำนวน 1
ไร่เศษให้เป็นที่ตั้งของสถานีอนามัย ตำบลท่ายาง ได้บริการด้านสาธารณสุข
ให้กับประชาชนได้มาก

ด้านการพัฒนาอาชีพในท้องถิ่น
ท่านได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมการสานเข่ง ให้กับผู้สนใจประกอบอาชีพเป็นอาชีพรอง
เป็นการหารายได้เพิ่มขึ้นจากอาชีพหลัก

ปัจจุบันวัดสหธรรมิการาม (หนองแขม)
เป็นสถานที่เผยพระพุทธศาสนาที่นับวันจะเจริญรุ่งเรืองทั้งกิจกรรมสืบสานพุทธศาสนาและกิจกรรมเพื่อมวลชน
ให้พัฒนาทั้งกายและใจ ทั้งนี้โดยการอำนวยการของท่านเป็นที่ตั้ง
มีพระภิกษุจำพรรษาจำนวน 69 รูป สามเณร 14 รูป ธรรมศึกษาโท 4 รูป
นับว่าเป็นวัดที่กำลังพัฒนาก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป
ทั้งนี้โดยบารมีของท่านหลวงพ่อผลโดยแท้

"""หลวงพ่อจ่าง อเชยโย""""


หลวงพ่อจ่าง อเชยโย (พระครูสุนทรวชิรเวช) อดีตเจ้าคณะอำเภอท่ายางและอดีตเจ้าอาวาส วัดเขื่อนเพชร อ.ท่ายาง เพชรบุรี รุ่นเงินทองไหลมา ประวัติหลวงพ่อจ่าง เป็นศิษย์หลวงพ่อฉิม วัดท่าคอย หลวงปู่ทองสุข วัดโตนดหลวง หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เกิดปี พ.ศ. 2451 มรณภาพ ปี พ.ศ.2545 สิริอายุรวม 94 ปี ปัจจุบันทางวัดยังเก็บสังขารของท่านอยู่เพราะไม่เน่าเปื่อย


"""พระอาจารย์จิ สมจิตโต"""


ประวัติโดยย่อ พระครูสมุห์สมจิต (พระอาจารย์จิ สมจิตโต) วัดหนองว้า ท่านเกิดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2507 ที่บ้านในดอน ต.หนองขนาน อ.เมือง จ.เพชรบุรี อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2527 ศึกษาเล่าเรียนวิปัสสนากรรมฐาน กับหลวงพ่อแผ่ว วัดโตนดหลวง เพชร บุรี และศึกษาพุทธาคมกับหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก อ.กุยบุรี จ.ประ จวบฯ ปัจจุบันเป็นรองเจ้าอาวาสวัดหนองว้าและเป็นเลขานุการเจ้าคณะตำบลหาดเจ้าสำราญ
หลังจากปี พ.ศ. 2529 ที่ ท่าน พระอาจารย์จิ ท่านได้ศึกษาวิชาอาคมวิชาไสย์เวทย์ต่างๆ จากหลวงพ่อยิดจนหมดไส้หมดพุงแล้ว หลวงพ่อยิดท่านได้เอ่ยปากชวนอยู่จำพรรษาที่วัดหนองจอกเลย และจะให้กรรมการปลูกกุฏิให้อยู่จำพรรษาต่างหากเลยแต่พระอาจารย์จิ ท่านก็ไม่สามารถทำตามความประสงค์ของหลวงพ่อยิดได้ ท่านจึงได้ลาหลวงพ่อยิดกลับมาอยู่จำพรรษาต่อที่วัดหนองหว้าและนำวิชาต่างๆ ที่หลวงพ่อยิดถ่ายทอดมาให้หมั่นฝึกฝนอยู่เป็นเนืองนิตย์ไม่เคยขาด ไม่เคยละในวัตรปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน ปฏิบัติหมั่นเพียรอยู่ตลอดเวลา จนจิตเป็นสมาธินิ่งสงบและที่มาที่ไปของคำที่ว่า หลวงพ่อยิดท่าสนเอ่ยปากพูดขึ้นว่า "ท่านจิ ท่าสนเก่งจริงๆ ทำอำไร ปลุกเสกอะไรได้เหมือนหลวงพ่อทุกอย่าง" ท่ามกลางลูกศิษย์ลูกหาหลายท่าน มีทั้งพระสงฆ์ และฆราวาส เนื่องด้วยประมาณปี พ.ศ. 2535 ต้นๆ ปี ในขณะนั้นผู้เขียนเองก็อยู่ในเหตุการณ์ด้วย ได้มีพระรูปหนึ่งชื่อ หลวงตาเพลิน เคยบวชอยู่ที่วัดบางทะลุ ตำบลหาดเจ้าสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระผู้ที่มาริเริ่มบูรณะวัดเก่าแก่ ซึ่งเหลือโบสถ์เก่าเป็นหลักฐานอยู่ที่ดอนบ้านใหม่ ในพื้นที่เขตตำบลหาดเจ้าสำราญ รกร้างมานานจนเป็นเรื่องกล่าวขานกันว่า....
วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดย พระสมเด็จพระสังฆราชเจ้าแตงโม เป็นผู้สร้าง ซึ่ง หลวงตาเพลิน เป็นลูกเกิดที่นั่น มีจิตเป็นกุศลอยากจะบูรณะวัดร้างให้เป็นวัดสมบูรณ์จึงพาญาติโยมเดินทางมาหาหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก เพื่อขอวัตถุมงคลของหลวงพ่อยิดไปแจกเป็นมงคลให้กับผู้ที่มาบริจาคทรัพย์ร่วมสร้างวัดดอนบ้านใหม่พอเอ่ยปากบอกกับ หลวงพ่อยิด ท่านจึงเอ่ยปากพูดขึ้นว่า หลวงตาเพลินจะเอาปลัดขิก ไม่ต้องมาถึงฉันนี่หรอก ไปหาท่านจิ วัดหนองหว้าซิเป็นลูกศิษย์ฉันเอง "ท่านจิท่านเก่งจริงๆ ทำอะไรปลุกเสกอะไรได้เหมือนฉันทุกอย่างเลย" ของที่ท่านจิปลุกเหมือนกับฉันปลุกเสกเลยทุกอย่างไม่ต้องมาถึงกุยบุรีหรอก อยู่เพชรบุรีใกล้กันนิดเดียว จากคำพูดนี้เอง หลวงตาเพลิน จึงได้ให้ชาวบ้านแกะปลัดขิก และนำไปให้ พระอาจารย์จิ ลงจารยันต์ปลุกเสกมาตลอดทุกปี แล้วนำปลักขิกนี้มาแจกให้กับผู้ที่มีความศรัทธา ร่วมสร้างวัดจนเป็นวัดดอนบ้านใหม่อย่างสมบูรณ์แบบทุกวันนี้ก็ด้วยบารมีพระอาจารย์จิ ปลุกเสกปลัดขิกให้จริงๆ มีผู้คนมากมายที่นำวัตถุมงคลของท่านไปใช้ได้ผลจริงๆ มีประสบการณ์มากมาย ปลัดขิกของท่านพุทธคุณครบเครื่องเหมือนกับของหลวงพ่อยิด ผู้เป็นอาจารย์จริงๆ ดีเด่นทางด้านมหาเมตตา ค้าขายดี พกติดตัวแคล้วคลาด แลอดภัย เป็นคงกระพันชาตรีอีกด้วย ปัจจุบันท่านได้สร้างวัตถุมงคลออกมาอย่างเป็นทางการให้ศิษยานุศิษย์ได้บูชากัน ซึ่งมีกระแสตอบรับดีมาก ศิษย์หลวงพ่อยิด จำนวนมากได้มาบูชาเก็บวัตถุมงคลของท่านกัน เพราะรู้ว่าวันข้างหน้าดังแน่นอน จึงได้รีบเก็บบูชาไว้ก่อนต่อไปหายากเดี๋ยวจะบูชาแพงเหมือนของหลวงพ่อยิดที่ตอนนี้หายากแล้ว
ท่านเป็นพระอาจารย์หนุ่ม อายุ 40 กว่าๆ ปี สงบ นิ่ง สุขุม ไม่พูดมาก สำรวมในกริยาแบบพระสุปฎิปันโน ลายจารอักขระสวยงาม เข็มขลัง ไม่แพ้อาจารย์ของท่าน ***ท่านออกวัตถุมงคลมานานแล้ว แต่ด้วยท่านเป็นพระหนุ่ม คนจึงมองข้ามท่านไป ไปเพชรบุรี ก็เข้าวัดตาลกง ไปไม่ถึง วัดหนองหว้า สักที หรือไม่ ก็เลยไปวัดชายนา เลยที่เดียว ด้วยความที่เป็นพระพูดน้อย เลยทำให้บางคนมองไปต่างๆนาๆ ซึ่งความจริงแล้วท่านมีเมตตามาก ขอแค่เอ่ยปากเท่านั้นท่านไม่เคยขัด อันนี้ผมสัมพัสกับตัวเองมาแล้วคับ***
กล่าวถึงวิชาที่มาจากสายหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวงแล้ว ลูกศิษย์ที่ยังทรงขารก็น่าจะหลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง หลวงพ่อห่วย วัดห้วยทรายใต้ ก็ศิษย์หลวงพ่อทองสุข หลวงพ่อแผ้วด้วย หลวงปู่คำ วัดหนองแก ศิษย์หลวงพ่อทองสุข หลวงปู่นาค วัดหัวหิน หลวงปู่เปี่ยม วัดเกาะหลัก หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ศิษย์หลวงพ่อทองสุข ส่วนหลานศิษย์ ก็น่าจะพระอาจารย์จิ วัดหนองหว้า เพชรบุรี ศิษย์เอกหลวงพ่อยิด จึงนับได้ว่าเป็นพระรุ่นสุดท้ายที่อายุน้อยที่สุดที่สืบทอดวิชาทางสาย พ่อทองสุขมาแบบเต็มๆ ดูได้จากวัตถุมงคลหลายๆอย่างคับ นอกจากนี้ท่านยังได้วิชาทางสาย หลวงพ่อกุน วัดพระนอน เจ้าของสุดยอดตะกรุด ที่ทุกคนใฝ่หา อันนี้ดูได้จากเหรียญเทวดามีสุขคับ
นอกจากปลุกเสกวัตถุมงคลได้อย่างเข้มขลังแล้ว พระอาจารย์จิยังเป็นพระสมถะไม่เคยสะสมสิ่งใด แม้ปัจจุบันท่านเป็นรองเจ้าอาวาส “ขนาดมีคนนำปัจจัยไปถวายท่าน ท่านไม่เคยเก็บสะสม ท่านถวายต่อเจ้าอาวาสซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน ซึ่งก็ได้นำปัจจัยที่ได้รับการถวายมาสร้างวัดหมดเหมือนกัน กุฏิท่านไม่มีแบ่งแยก รวมกับพระลูกวัดไม่มีแอร์ ไม่มีที่นอน เคยซื้อพัดลมตัวใหญ่ๆ ให้ท่าน ที่นอน ท่านให้เด็กนักเรียนวัดหนองหว้า และพระลูกวัดหมด อยู่อย่างสมถะจริงๆคับ ”

พระอาจารย์จิ สมจิตโต วัดหนองหว้า เพชรบุรี เป็นศิษย์หลวงพ่อยิดวัดหนองจอก... เคยได้ยินหลวงพ่อยิดจากประวัติหลวงปู่กาหลง ท่านก็เป็นศิษย์พี่ ศิษย์น้องกับหลวงพ่อยิด วัดหนอกจอกเช่นกัน...ในตำนานว่าเห็นท่านสนิทกันมาก.. หลวงปู่กาหลงเรียกไอ้ยิด ประมาณนั้น.. ท่านสอนกันเรื่องวิชาปลัดขลิก...ส่วนอาจารย์เม้งก็เช่นกัน...ท่านนับถือหลวงพ่อยิดมาก
ส่วนวัตถุมงคล ที่พระอาจารย์จิ สมจิตโตที่ได้เริ่มสร้างมา ที่มีประสบการณ์มาก ได้แก่ หนุมานเกราะเพชร ปี47 ซึ่งถ้าเป็นเนื้อที่ค่อนข้างหายากเช่น หน้าทองคำ หรือเนื้อตะกรุดโทน เหรียญนี้สร้างโดยพระอาจารย์จิ สมจิตโต วัดหนองหว้า เพชรบุรี เหรียญของท่านโดยส่วนใหญ่ท่านจะจารกำกับด้วยเหล็กจารเกือบจะทุกองค์ครับ สร้างเมื่อปี 2547 มีประสบการณ์สูงมากครับ เป็นพระทางสายเพชรบุรีรุ่นใหม่ที่น่าเลื่อมใสศรัทธา เป็นศิษย์สายตรงหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก
เหรียญหนุมานของท่าน รูปหนุมานแบบนี้
หลวงพ่อยิดท่านเคยวาดเอาไว้เป็นกระดาษยันต์ โดยที่ท่านไม่ต้องร่างก่อนด้วยครับท่านเก่งทั้งพุทธศิลป์และเปี่ยมด้วยพุทธคุณจริงๆ จึงทำให้มีราคาค่อนข้างสูง

ปิดตานะพุทโธ ปี48 นี้ก็ไม่แพ้หนุมานเกราะเพชรเช่นกันคับ ด้วยมวลสารที่ เปี่ยมด้วยพุทธคุณ เช่นเหรียญรุ่นแรก เนื้อเงิน หลวงพ่ออุ้น หลวงพ่อยิด และเกจิอาจารย์อีกหลายองค์ ที่ได้นำมาหลอมเป็นพระปิดตาชุดนี้ อีกทั้งจำนวนการสร้าง โดยเฉพาะเนื้อเงินมีไม่ถึง ต90 องค์

เหรียญไตรมาสรุ่นแรก ปี49 ซึ่งเนื้อหลักๆ ราคาไม่ต้องพูดถึง และที่โดดเด่นอีกอย่างคือ ตะกรุดรุ่นแรกๆ เช่น ตะกรุดสิงห์เหนือ-เสือใต้ ตะกรุด 357 ตะกรุดโทนคู่กาย ซึ่งจะทำจากทองแดงเป็นส่วนใหญ่ จนถึงตะกรุดรุ่นหลังประสบการณ์มากมาย ยิ่งเฉพาะทางภาคใต้ของไทยเราคับ สุดยอดแค่ไหนต้องถามทหารที่มากราบท่านที่วัดนก ไป 9 กลับมา 3 โดนระเบิดน่ะคับไม่ใช่ลูกปืนแค่สลบ ล่าสุด ต้องนำลูกปืนมาให้ท่านจารให้เพื่อฝากเพื่อนพ้องทหารด้วยกัน ความจริงท่านมีชื่อเสียงพอสมควรทางใต้ไปจนถึงมาเลเซีย โดยเฉพาะปลัดขิกของท่านพุทธคุณครบเครื่องเหมือนกับของหลวงพ่อยิด ผู้เป็นอาจารย์จริง ๆ ดีเด่นทางด้านมหาเมตตา ค้าขายดี พกติดตัวแคล้วคลาด ปลอดภัย เป็นคงกระพันชาตรีอีกด้วย ปัจจุบันท่านได้สร้างวัตถุมงคลออกมาอย่างเป็นทางการให้ศิษยานุศิษย์ได้บูชากันหลายอย่าง ซึ่งมีกระแสตอบรับดีมาก
ด้วยวัตถุมงคลแต่ล่ะรุ่นที่สร้างขึ้นมานั้นมีจำนวนการสร้างที่น้อยมาก เพราะจะเน้นไปทางพุทธคุณ โลหะส่วนใหญ่จึงได้จากการหลอมวัตถุมงคลซึ่งจะไม่มี โลหะของโรงงานผสม เลยทำให้มีจำนวนน้อย และราคาค่อนข้างสูง ( อันนี้อยู่ที่ความพอใจของคนซื้อและคนขายน่ะคับ )
หากท่านใดมีโอกาสไปเพชรบุรีแล้ว นอกจาก หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง หลวงพ่อคง วัดเขากลิ้งแล้ว อย่าลืมแวะไปกราบท่านซักครั้งลองดูน่ะคับ วัดห่างจาดวัดตาลกงไม่กี่กิโล อย่างน้อยผมกล้ายืยยันว่า ท่านเป็นพระที่กราบได้สนิทใจองค์หนึ่งเลยทีเดียว

"""หลวงพ่อหริ่ง มโหสโถ"""


พระครูวัชรโพธิคุณ (หริ่ง มโหสโถ) เป็นพระเถระในจังหวัดเพชรบุรี หลวงพ่อหลิ่งเป็นพระภิกษุชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีชื่อเสียงด้านการแพทย์แผนไทยเป็นอย่างมาก
นามเดิม : หริ่ง จำปาเทศ (แซ่ลิ้ม)
บุตร : นายต่วน นางผิน จำปาเทศ
ชาตุภูมิ : ชาวตำบลนาพันสาม อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
เกิด : วันเสาร์ แรม10 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง (1 ตุลาคม พ.ศ. 2459 )
มรณภาพ : วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2540 รวมอายุได้ 82 ปี 61 พรรษา
การศึกษาฝ่ายฆราวาส สำเร็จการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดนาพรม เมื่อ พุทธศักราช 2473
การศึกษาทางบรรพชิต ขณะเยาววัยได้บรรพชาเป็นสามเณรต่อมาโยมมารดาได้ให้ท่านลาสึกขลาบท เมื่ออายุครบ 20 ปีได้ อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดลาดโพธิ์ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2479 โดยพระครูปัญญากรวิโรจน์(รุ่ง)วัดโพธิ์พระใน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูเลี่ยม วัดพระรูป เป็นพระกรรมาวาจาจารย์ พระครูชุ่ม วัดจันทราวาส และพระครูรวม วัดลาดโพธิ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
แพทย์แผนไทย ศึกษาตำรับตำราจากหลวงพ่อรวม วัดลาดโพธิ์ เพชรบุรี หลังจากเรียนจนหมดสิ้นวิชาจากหลวงพ่อรวมแล้ว หลวงพ่อหริ่งก็ได้เสาะแสวงหายาสมุนไพร ตำรับ ตำราดี ที่มีชื่อเพื่อนำมารักษาให้แก่ชาวบ้านที่ไปมาท่านจนมีชื่อเสียงแต่ครั้งยังเป็นสามเณรอยู่วัดลาดโพธิ์ ครั้นเป็นภิกษุจึงได้ฉายาว่า "มโหสโถ" [2] แปลว่า "หมอใหญ่" หลังจากหลวงพ่อรวม เจ้าอาวาสวัดลาดโพธิ์ ได้มรณภาพ ท่านก็ได้เป็นเจ้าอาวาสต่อจากหลวงพ่อรวม
เจ้าอาวาสวัดลาดโพธิ์ ตำบลสำมะโรง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
เจ้าคณะตำบลหาดเจ้าสำราญ
ประธาน อปต.สำมะโรง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

พระครูวัชรโพธิคุณ (หริ่ง มโหสถ) มีเวทยมนต์ทางด้านการรักษาผู้ป่วย วิชาอาคมในการต่อกระดูกที่แก่กล้าหาใครเสมอเหมือน ให้การสงเคราะห์แก่ชาวบ้านในจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดใกล้เคียง โดยมิได้เรียกร้องเงินทอง สิงของตอบแทนแต่อย่างใด โดยให้การรักษาทางด้านโรคกระดูก ผิวหนัง ฯลฯ โดยส่วนใหญ่ผู้ที่เข้าการรักษาจะเป็นผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุจากตกต้นตาล อุบัติเหตุทางรถยนต์ หรือผลกระทบจากโรคอื่น เป็นต้น ในแต่ละวันจะมีผู้คนจากในแต่ละสารทิศ ที่ประสบเคราะห์กรรมมาให้หลวงพ่อรักษา ท่านก็รับรักษาหาใช่เกี่ยงงอนไม่ และเป็นที่ประจักแก่สายตาผู้คนที่มารักษาอยู่เป็นเนืองนิต โดยในแต่ละวันจะมีผู้ป่วยมาหาหลวงพ่อหริ่งจนแน่นกุฏิทุกวัน

"""หลวงพ่อชม จนฺทโชติ"""


หลวงพ่อชม จนฺทโชติ นามเดิม ชม นุชนาถ เกิด เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๕ ตรงกับปีวอก บ้านวังปืน ตำบลบ้านหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี บิดา – มารดา นายนุช นางแจ่ม นุชนาถ ประวัติ หลวงพ่อชม จนฺทโชติ อุปสมบท การศึกษาเมื่อยังเด็ก บิดา มารดาได้นำไปฝากกับ เจ้าอธิการแหยม วัดสิงห์ เรียนหนังสือไทยและขอม จนพออ่านออกเขียนได้ อีกทั้งบิดายังได้ถ่ายทอดวิชาเกี่ยวกับยาและการรักษาให้ จนมีความชำนาญ สามารถตรวจรักษาคนไข้ได้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๖ ประวัติความมีชื่อเสียง หลังจากอุปสมบทได้รักษาพยาบาลพระภิกษุ สามเณรที่อาพาธ ตลอดจนญาติโยมชาวบ้าน จนมีชี่อเสียงโด่งดังด้านการรักษาและหมอน้ำมนต์ อุปนิสัยของพ่อประการหนึ่ง คือ ชอบเล่นแร่แปรธาตุ โดยเฉพาะ ปรอท ปี พ.ศ. ๒๔๔๒ หลวงพ่อชมอายุได้ ๒๗ ปี ท่านเจ้าอธิการแหยมถึงแก่มรณาภาพ จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส สืบต่อมา เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านและพระภิกษุสามเณร และเป็นครูบาอาจารย์ที่ดุมาก ปี พ.ศ.๒๔๘๐ อายุ ๖๕ ปี ๔๔ พรรษา ได้รับแต่งตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์ และเป็นหมอยาประจำตำบลหนองโสน วัตถุมงคลที่ขึ้นชื่อ วัตถุมงคลที่โดดเด่นของหลวงพ่อชม มี ๒ ชนิด คือ เชือกคาดเอว มีอานุภาพทางด้านคงกระพันชาตรีเป็นเลิศ และพระปิดตามหาอุตม์ ประกอบด้วย เนื้อเมฆพัตร เนื้อทองแดงเถื่อน และเนื้อตะกั่ว หลวงพ่อชม มรณภาพ เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๔๘๖ รวมสิริอายุ ๗๑ ปี

หลวงพ่อพระอธิการชม วัดสิงห์ เป็นพระเถระที่เรืองเวทย์วิทยาคมอย่างเอกอุ ท่านได้สร้างพระเครื่องวัตถุมงคลเอาไว้หลายอย่างอาทิ พระปิดตา และพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ แต่ที่นักสะสมเครื่องรางของขลังนิยมยกย่องมีอยู่อย่างหนึ่งที่ยังคงครองอันดับอยู่ในยุทธจักรเครื่องรางอันได้แก่เชือกคาดของหลวงพ่อชมนั่นเอง

ความเป็นมาของเชือกคาด เชือกคาดเป็นวัตถุอาถรรพ์ที่นิยมกันมาแต่โบราณ ใช้แทนเข็มขัดเวลานุ่งผ้าโจงกระเบน หรืองกางเกงอย่างอื่นที่นิยมกันหากไม่คาดเอวก็ม้วนแล้วคาดแขนแทนมงคลแขนได้ เชือดคาดมีความมุ่งหมายอยู่ สองอย่าง คือ คงกระพัน และกันเขี้ยวงูอสรพิษขบกัด โดยเฉพาะประการหลังนั้นสำคัญที่สุด หลวงพ่อโชติ วัดตะโน ท่านนั่งหลังขดหลังแข็งทำเชือกคาดก็ด้วยเหตุว่าท่านไม่ต้องการให้ชาวบ้านชาวสวนต้องได้รับภัยจากอสรพิษที่ขบกัดเพราะแถบนั้นมีงูเห่าชุมเป็นพิเศษทีเดียว และก็ไม่เคยมีสักรายเดียวที่จะมีเชือกคาดของหลวงพ่อแล้วจะถูกงูเห่ากัด นับว่าเป็นยอดมาก
การสร้างพระเครื่องเชือกคาดตามขั้นตอน เชือกคาดนั้นตามที่ได้ยินได้ฟังและศึกษามาพระอาจารย์เจ้าท่านจะใช้ผ้าขาวปิดปากโลงผีตายวันเสาร์เผาวันอังคาร หรือจะเอาเฉพาะตายวันเสาร์หรือวันอังคารชนิดตายโหงก็ได้ หรือไม่เช่นนั้นก็ใช้ผ้าขาวดาดเพดานเมรุก็ได้เช่นกัน ทำพลีเอามาไว้ใช้งานเมื่อได้แล้วก็ฉีกออกเป็นริ้วๆตามยาวภาวนาเรียกสูตร ลงอักขระตามที่ประสิทธิประสาทตกทอดกันมาแต่เดิม จนกระทั่งครบสูตรจึงนำมาถักขึ้นหัวเสียก่อนจึงจะถักตัวต่อมาตามขนาดผู้ที่ต้องการ ถักไปภาวนาไปเรื่อยๆจนเสร็จเป็นเส้นจึงทำห่วงสอดหัวตรงปลายเข้าไว้เป็นเสร็จพิธีการนำไปปลุกเสกอีกครั้งหนึ่งเพื่อความแน่ใจ หลวงพ่อโชติ วัดตะโน ก็ใช้วิธีนี้เช่นเดียวกันหากแต่ว่าลายถักเท่านั้นที่ผิดกันออกไป
การพิจารณาเชือกคาดของหลวงพ่อชม
1.หัวเชือกคาด หัวเชือกคาดของหลวงพ่อชมจะถักกลมเป็นลายเดียวกับลูกตะกร้อ ขนาดใหญ่เล็กไม่เท่ากันแล้วแต่ความยาวและกว้างของเส้นเชือก และหากเดาะดูจะรู้สึกว่ามีน้ำหนักก็เพราะหลวงพ่อท่านได้ใส่พระปิดตาบ้างใส่ลูกอม โลหะที่ท่านเทเอาไว้จากโลหะที่ท่านเล่นแร่แปรธาตุได้ก็มี
2.ลายถักของเชือกคาด จะเป็นลายพิรอดติดกัน โดยตลอดตรงกลางเรียบเสมอกัน(ของหลวงพ่อโชติ วัดตะโนถักเป้นลายกระดูกงูตรงกลางเป็นสัน) อย่างนี้เรียกว่ามาตรฐาน แต่ในตอนหลังความต้องการมากขึ้นท่านก็ต้องบอกให้พระและเณรที่อยู่ในวัดเป็นผู้ถัก ลายถักก็คงเป็นตามหลักก็คือหัวเป็นตะกร้อ แต่ตัวเส้นเชือกอาจจะมีการถักเป็นแบบพิรอดแต่มิได้ติดกันมีเว้นระยะเป็นข้อๆก็เคยพบเห็นกันอยู่เสมออย่างสงสัย
3.รักที่ลงเชือก เชือกคาดของหลวงพ่อชม วัดพระสิงห์นั้นลงรักหมดทุกเส้นจึงสามารถสังเกตความแห้งเก่าของรักได้อีกทางหนึ่ง เชือกของศิษย์สายของท่านนั้นรักยังไม่เก่าพอจึงยุติการพิจารณากันที่รักบนเส้นเชือกนี่เอง
การปลุกเสก เท่าที่ศิษย์สายตรงของหลวงพ่อชมได้ยินได้ฟังและเคยได้เห็นตรงกันว่าหลวงพ่อชมจะเอาเชือกคาดที่สำเร็จแล้วมาวางเรียงกันแล้วภาวนาคาถาส่งพลังจิตไปยังเชือกคาด เชือกคาดเหล่านั้นจะเกิดการม้วนตัวขยุกขยิกเหมือนงูส่วนหัวที่เป็นตะกร้อจะสอดเข้าไปในบ่วงร้อยที่ปลายเส้นเชือกทุกเส้นเป็นเสร็จพิธีกรรมเส้นใดบริกรรมแล้วไม่สอดเข้าบ่วงให้เอาออกมาทิ้งไปถือว่าอักขระวิบัติมาแต่ต้นใช้ไม่ได้ และเส้นใดที่บริกรรมจนสอดเข้าหากันได้ดังกล่าวเอามาใช้ติดตัวจะเกิดอำนาจคุ้มครองป้องกันตัวได้เป็นอย่างดี

"""พระครูสุวรรณมุนี พ่อมี"""


พระครูสุวรรณมุนี (หลวงพ่อมี วัดพระทรง) เจ้าอาวาสวัดพระทรง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรีเกิด เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๕ ท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่ของเมืองเพชรบุรีในอดีตเชี่ยวชาญในวิปัสสนากัมมัฎฐาน และแก่กล้าในพระเวทย์วิทยาคม พระปิดตาของท่าน แม้พิมพ์ทรงแลดูไม่สวยงามนัก แต่อานุภาพความศักดิ์สิทธิ์แล้ว นับได้ว่าเป็นเอก และยากที่จะหาสิ่งใดเทียบได้ นอกจากนั้นท่านเป็นสหธรรมิกของหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ผู้สร้างพระปิดตาที่แพงที่สุดในเมืองไทย และท่านยังเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก เกจิอาจารย์ดังแห่งเมืองประจวบ

""พระครูวิบูลศีลาจาร พ่อผิน""


พระครูวิบูลศีลาจาร นามเดิม ผิน นุชเจริญ เกิด วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๔ ปีมะเส็ง อุปสมบท วันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๔๗ ที่วัดโพธิ์กรุ มีอธิการแย้ม วัดกุฎีดาว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้สังฆนามว่า “พุทธสโร” ประวัติความมีชื่อเสียง หลวงพ่อผินมีความเลื่อมใสศรัทธาตั้งมั่นอยู่ในบวรพุทธศาสนา มีวัตรปฏิบัติเคร่งครัด ขยันหมั่นเพียร ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย หนังสือไทย หนังสือขอม อักขระวิธี และวิชาความรู้ด้านอื่นๆ อาทิ เวทมนต์คาถา และความรู้ด้านอื่นๆ ที่มีอยู่จากเจ้าพระอธิการอินจนแตกฉานหมดสิ้น พ.ศ.๒๔๕๑ ขณะหลวงพ่อผินบวช อายุ ๒๗ ปี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์กรุ แทนพระอธิการอิน หลวงพ่อองค์เดิมที่ลาสิกขาโดยไม่ทราบสาเหตุ และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลท่าช้างในปี ๒๔๘๘ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูวิบูลศีลจาร” ในปี ๒๔๙๕

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

"""หลวงพ่อแฉ่ง สีลปญฺโญ"""


พระครูญาณสาคร (แฉ่ง สีลปญฺโญ) เป็นเจ้าคณะสงฆ์ตำบลบางตะบูน อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ชื่อเดิมว่า แฉ่ง สำเภาเงิน เป็นพระเกจิเถราจารย์ที่เป็นที่เคารพนับถือที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่งของ จังหวัดเพชรบุรี ร่วมสมัยกับพระเกจิอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในสมัยยุคก่อนพ.ศ. 2500 แล้ว ท่านยังได้ดำรงตนเป็นผู้สมถะ มักน้อยสันโดษ ไม่ปรารถนาลาภยศ



รูปหล่อพระครูญาณสาคร
ชาติภูมิ

พระครูญาณสาคร เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2422 (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปี เถาะ) ที่ตำบลบางตะบูนออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรนายเฉยและนางทับ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันรวม 9 คน ดังนี้
นายอั๋น สำเภาเงิน
นางสาย เข่งทอง
นายสิน สำเภาเงิน
นายแสง สำเภาเงิน
นายแบน สำเภาเงิน
นายเบี้ยว สำเภาเงิน
พระครูญาณสาคร (แฉ่ง สำเภาเงิน)
นางเป้า ฟังทอง
นายใจ สำเภาเงิน
ฆราวาส

“พระครูญาณสาคร” (หลวงพ่อแฉ่ง สำเภาเงิน สีลปญฺโญ) ได้ศึกษาหนังสือไทย ณ วัดปากลัด ตำบลบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี (สมัยก่อนยังไม่มีโรงเรียนจำต้องเรียนที่วัด) ต่อมาย้ายไปเรียนที่วัดทุ่ง (ทุ่งเฟื้อ) ตั้งอยู่คลองปลายสวนทุ่ง ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี จนมีความรู้ในการอ่าน เขียน ภาษาไทย และภาษาขอมได้เป็นอย่างดีแล้ว ท่านจึงลาการศึกษาหนังสือจากวัดปากลัด เพื่อมาช่วยบิดามารดาทำงานช่วยเหลือครอบครัว จนกระทั่งอายุครบ 20 ปี ได้กราบลาบิดา มารดา เพื่ออุปสมบท เมื่อวันอังคาร ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2442 เวลา 14.15 น. (ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 6 ปี กุน) ณ พัทธสีมาวัดปากลัด ตำบลบางตะบูน อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี (สมัยนั้นขึ้นอยู่กับอำเภอเขาย้อย)
บรรพชาอุปสมบท“พระอธิการคล้ำ” วัดปากคลอง ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์“พระอธิการทรัพย์” วัดเขาตะเครา ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระกรรมวาจาจารย์“พระอธิการวัตร” วัดปากลัด ตำบลบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ท่านได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนา ว่า “สีลปญฺโญ” คือ ผู้ทรงศีลเป็นปัญญา
สมณศักดิ์

หลังจากที่ท่านได้เป็นพระภิกษุสงฆ์แล้วนั้น ท่านได้จำพรรษาอยู่วัดปากลัด 1 พรรษา ต่อมาจึงย้ายไปจำพรรษาอยู่วัดเขาตะเครา 2 พรรษา แล้วจึงไปจำพรรษาอยู่วัดปากคลอง ตำบลบางครก 5 พรรษา เพื่อศึกษาวิปัสสนามัฎฐาน จนกระทั่ง"พระอธิการเปลี่ยน" วัดอุตมิงด์ ตำบลบ้านแหลม อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ได้อาราธนาให้ไปสอนอักษรขอม และจำพรรษาอยู่ที่วัดอุตมิงด์ 1 พรรษา

ท่านได้มีความคิดที่จะขอลาสิกขาจากสมณเพศ เพื่อกลับไปดูแลบิดา มารดา จึงได้ไปหา “พระครูสุวรรณมุนี” หลวงพ่อฉุย พระอาจารย์ของท่าน ณ วัดพระทรง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เพื่อทำการลาสิกขา พระอาจารย์จึงได้ทำการสำรวจตรวจดวงชะตาท่านเพื่อดูความเหมาะสม หลังจากพระอาจารย์ตรวจดวงชะตาแล้วเห็นว่าบุญบารมียังสูงส่งจักเป็นหลักชัยในพระพุทธศาสนาสืบไป ทำให้ท่านกลับใจคงอยู่ในสมณเพศต่อ และเดินทางกลับมาบ้านเกิดเมืองนอนที่ตำบลบางตะบูน ท่านได้เชิญชวนพุทธศาสนิกชน วงศาคณาญาติทั้งหลาย ผู้มีจิตศรัทธาในบวรบพุทธศาสนา ชาวบ้านบางตะบูนทั้งผู้มีทุนทรัพย์ และผู้มีกำลังกายเข้าร่วมกัน ก่อสร้างวัดขึ้นใหม่ราวปลายปี พ.ศ. 2449 ที่ริมฝั่งชายทะเลด้านตะวันออกของปากอ่าวบางตะบูน ซึ่งเดิมพื้นที่เป็นป่าชายเลนมีน้ำท่วมถึงชายป่า ท่านใช้เวลาในการปรับปรุ่งพื้นที่ ถมดิน ถมทราย และก่อสร้างศาสนสถานต่างๆ อาทิ พระอุโบสถ กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ และโรงเรียนวัดปากอ่าว เป็นต้น ท่านใช้เวลาในการก่อสร้างเป็นเวลาเกือบ 5 ปี จึงแล้วเสร็จจนกลายเป็นวัดใหญ่ถาวรมาจนถึงปัจจุบันนี้ และได้ขนานนามว่า “วัดปากอ่าวบางตะบูน” ตำบลบางตะบูนออกอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ในปี พ.ศ. 2450

วัดปากอ่าวบางตะบูน
ภาพถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2553ด้วยกุศลจริยาสัมมาปฏิบัติโดยอเนกประการ ทางคณะสงฆ์มีองค์พระสังฆราชเป็นประมุข ทราบกิตติคุณในคุณานุภาพจึงรับการแต่งตั้งสมณศักดิ์ดังต่อไปนี้
เมื่อวันศุกร์ ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2467 ได้รับแต่งตั้งเป็น “พระอุปัชฌายะ”
เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 ได้รับแต่งตั้งเป็น “พระครูแฉ่ง” และเป็นเจ้าคณะสงฆ์แขวงอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
เมื่อวันพุธ ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2481 ได้รับแต่งตั้งเป็น “พระครูญาณสาคร”
เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2487 ได้รับแต่งตั้งเป็น “สาธารณูปกร” อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
พ.ศ. 2490 ได้รับแต่งตั้งเป็น “เจ้าคณะสงฆ์ตำบลบางตะบูน” ตลอดมาจนถึงมรณภาพวันศุกร์ ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2506 เวลา 18.07 น. ท่านได้มรณภาพด้วยโรคชรา ณ กุฏิเจ้าอาวาส วัดปากอ่าวบางตะบูน ตำบลบางตะบูนออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ด้วยความสงบ สิริรวมอายุได้ 84 ปี 5 เดือน กับ 25 วัน ท่านถือครองสมณเพศเป็นเวลา 64 พรรษา นับเป็นการสูญเสียอย่างใหญ่หลวงของพุทธศาสนิกชน และชาวบ้านตำบลบางตะบูน บรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย ตลอดเวลาที่ท่านมีชีวิตอยู่ได้ประกอบแต่กรรมดีอยู่เสมอ เมื่อเป็นฆราวาสก็เป็นบุตรที่อยู่ในโอวาทของบิดามารดา เมื่ออยู่ในสมณเพศก็เป็นผู้ที่อยู่ในระเบียบวินัยของสงฆ์อย่างเคร่งครัด การที่ท่านวางตนได้โดยสม่ำเสมอเช่นนี้ จึงทำให้ประชาชนชาวบ้านบางตะบูนและบริเวณใกล้เคียงเคารพเลื่อมใส และเมื่อท่านเป็นผู้ที่มีอัธยาศัยอันดีงาม และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นตลอดมา ทำให้ท่านเป็นที่รักของชาวบ้านเหล่านั้นมาก เมื่อท่านประสงค์สิ่งใดก็ได้รับความร่วมมือจากประชาชนที่มีจิตศรัทธาเชื่อถือในตัวท่าน ช่วยกันสละทั้งกำลังกายและทรัพย์สิน ผลงานสำคัญที่ท่านได้กระทำไว้มากมาย และเป็นอนุสรณ์อยู่จนกระทั่งทุกวันนี้

""พระครูพิพิธศุภการ พ่อเหนาะ""



ประวัติ พระครูพิพิธศุภการ (หลวงพ่อเหนาะ วัดป้อม)
พระครูพิพิธศุภการ นามเดิม เสนาะ นามสกุล เจริญพงศ์ ชาวบ้านเรียก หลวงพ่อเหนาะ เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2465 ท่านเกิดที่บ้านปากทะเล ตำบลปากทะเล อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โยมบิดาชื่อ นายฉาย เจริญพงศ์ มารดาชื่อ นางผิน เจริญพงศ์ ก่อนบรรพชาอุปสมบทหลวงพ่อท่านเคยรับราชการทหารช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่2 ระหว่าง พ.ศ.2586-2488 ณ ค่ายรามราชนิเวศน์ หลังจากนั้นหลวงพ่ออุปสมบทที่วัดยาง โดยมีพระพิศาลสมณกิจ(พระเทพวงศาจารย์) เจ้าอาวาสวัดยาง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ผ่าน วัดยาง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูรัตนสารวิสุทธิ์(เชื่อม) วัดแก่นเหล็ก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ โดยได้รับฉายา “กมโล”

พระครูพิพิธศุภการ (เหนาะ) อดีตเจ้าอาวาสวัดป้อม แต่เดิมท่านบวชและจำพรรษาอยู่วัดยาง อ.เมือง จ.เพชรบุรี เป็นเลขานุการส่วนตัวของพระเทพวงศาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัด แต่เมื่อหลวงพ่ออิ่ม(พระครูสังวรวัชรคุณ) เจ้าอาวาสวัดป้อมขณะนั้น ท่านชราภาพมากไม่สามารถดูแลปกครองพระภิกษุและกิจการต่างๆภายในวัดให้เป็นตามความเรียบร้อยปกติได้ ทางคณะกรรมการวัดและศิษย์ทั้งหลายจึงมีความเห็นพ้องต้องกันที่จะกราบท่านพระครูพิพิธศุภการเดินทางจากวัดยางมาจำพรรษาที่วัดป้อมให้มาดูแลปกครองวัดป้อมแทนโดยเบื้องต้นท่านมารับตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดป้อมก่อน เมื่อ พ.ศ.2530 จึงดำรงเป็นเจ้าอาวาสวัดป้อม
และพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2537 ได้รับแต่งตั้งเป็นครูสัญญาบัตร “พระครูพิพิธศุภการ”


วัตรปฏิบัติของหลวงพ่อเป็นที่ยกย่องนับถือ เช่น ออกบิณฑบาตเป็นวัตร ลงทำวัตรเช้า/เย็นมิได้ขาด ทุกวันพฤหัสท่านจะใส่บาตรพระสงฆ์หน้าวัดทุกสัปดาห์ ทำพิธีบูชาครูเป็นประจำทุกปีเพื่อระลึกนึกถึงคุณของครูอาจารย์ของท่าน หากมีเวลาว่างท่านจะทำความสะอาดวัดโดยการกวาดใบไม้ และท่านจะอนุเคราะห์ผู้ที่มาขอใช้พื้นที่ภายในวัดเสมอมา

หลวงพ่อเหนาะ โด่งดังเรื่องการทำน้ำมนต์ ได้มาจากหลวงพ่อเจริญ วัดทองนพคุณ การเจิมรถได้มาจากหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ คาถาเมตตามหานิยม แคล้วคลาด ได้มาจากหลวงพ่ออินทร์ วัดยาง เจ้าคณะจังหวัด
ปกติญาติโยมที่มาทำบุญ ท่านจึงลุกขึ้นมานั่งแล้วหยิบเอาขันน้ำมนต์มาประพรม พร้อมทั้งสวดกับแขกทุกคนจนหมดขัน แล้วหยิบเอาเหรียญมาแจกคนละเหรียญ

ตอนหัวค่ำของคืนวันที่ 18 สิงหาคม 2553 บรรยากาศบริเวณวัดป้อมดูจะเงียบสงบและวังเวง ดุจสภาวธรรมของเรือนกาย-ใจของท่านพระครูพิพิธศุภการ ขณะชีพจรท่านเต้นช้าลงจนถึงเวลา 23.00น. หลวงพ่อได้ละสังขารโดยสงบ เหลือไว้แต่ผลงานและคุณธรรมอันอุดมฝากไว้เป็นอนุสรณ์ต่อไป

พูดถึงวัตถุมงคลมีมากมายหลายแบบ ทุกอย่างหลวงพ่อจะแจกให้ฟรีๆ ดุจเป็นที่ระลึก ทั้งเหรียญรูปเหมือนท่านและ ผ้ายันต์รุ่นแรกสีขาวผืนเล็กและรุ่นสองสีแดงท่านจะลงยันต์ด้วยตัวเองแต่ช่วงหลังท่านคงไม่มีเวลาพอ จึงใช้ตราปั๊มลงในผืนผ้าสีแดงและสีขาว นอกจากนี้หลวงพ่อยังได้รับกิจนิมนต์ให้ปลุกเสกวัตถุมงคลตามวัดต่างๆมากมายนับครั้งไม่ถ้วน บางครั้งลูกศิษย์หรือผู้เคารพในวิทยาคมได้นำแผ่นตะกั่วให้ท่านลงเพื่ออธิษฐานจิตทำเป็นตะกรุด
ประสบการณ์ผ้ายันต์สีขาวว่า ฟันกันที่สนามวัวลาน คนถูกฟันล้มลงแล้วลุกขึ้นมาได้ คนฟันวิ่งหนีตกใจ! มันลุกขึ้นมาได้อย่างไร ขนาดใช้มีดปาดตาลฟันด้วย และ เหรียญหลวงพ่อรุ่นแรกก็มีประสบการณ์ มีการยิงกันที่ประตูวัดป้อมนี่แหละ ยิงนัดแรกออก พอยิงนัดที่ 2 อีกคนไม่ออก เพราะพกเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อ

"""หลวงพ่อแถม สีลสังวโร""""



หลวงพ่อแถม เกจิอาจารย์ขลังสืบสายพุทธาคม หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีเกียรติคุณกว้างไกลไร้พรมแดนของเมืองเพชรอีกรูปหนึ่งในขณะนี้ ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ในสายมหานิกายที่พูดน้อย ไม่ค่อยถนัดในเรื่องคุย แต่เข้มขลังในอาคม โดยเฉพาะ ตะกรุด ของท่านนั้นถือว่าเป็นมหาอำนาจในทางอยู่ยงคงกระพันเป็นเลิศอีกรูปหนึ่งในยามนี้ ในอดีตคนเพชรถือว่าเป็นคู่แข่งรูปสำคัญกับ หลวงพ่อตัด วัดชายนา เพียงแต่หลวงพ่อตัดนั้นท่านเป็นสายพระธรรมยุติ ส่วน หลวงพ่อแถม ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ในสายพระมหานิกาย พระอาจารย์ทั้งสองรูปนี้เป็นสหธรรมิกกันมาช้านานไปมาหาสู่กันบ่อยๆ ตะกรุดของท่านนั้นเป็นเลิศในทางคงกระพันชาตรี หนังเหนียวชนิดยิงไม่ออก แทงไม่เข้า ตามที่เขาเล่าลือกันมาจากปากสู่หู

แต่ถ้าใครสอบถามท่านเรื่องนี้ท่านจะกล่าวว่า หารู้ไม่หรอกเป็นเรื่องของเด็กๆ เขาประสบกันมา อาตมาหารู้ไม่ เป็นสำเนียงคนเมืองเพชร ซึ่งวัยรุ่นในย่านบ้านช้างแทงกระจาดเจอะเจอประสบการณ์ดังกล่าวมาหลายราย จึงทำให้ชื่อเสียงของท่านโด่งดังติดทำเนียบอันดับพระเกจิอาจารย์ดัง พระอาจารย์เข้มขลังเวทมนต์แดนคนดุ เมืองเพชรในปัจจุบัน มิใช่เฉพาะชาวบ้านธรรมดาตาดำๆ แม้แต่เจ้านายชั้นสูงก็เคารพศรัทธาหลวงพ่อแถม

การเดินทางสู่วัดช้างแทงกระจาดให้ใช้เส้นทางบายพาส หรือถนนเส้นนอกที่จะไปหัวหิน เมื่อผ่านสี่แยกหุบกะพงแล้วให้สังเกตทางสี่แยกที่ 3 วัดอยู่ก่อนถึงวัดห้วยมงคล เมื่อขับรถไปถึงสี่แยกบ้านช้างแทงกระจาดอยู่ทางขวามือ เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณสักกิโลเศษๆ ก็ถึง จะสังเกตเห็นรูปช้างขนาดเท่าตัวจริงแทงกระจาดติดงายืนอยู่หน้าซุ้มประตูเข้าวัด ให้ขับรถเลี้ยวขวามือเข้าไปจะมีลานจอดรถอยู่ตรงข้ามณฑปบูรพาจารย์ อันประกอบด้วย รูปหล่อหลวงพ่อจันทร์ ธัมมสโร เมื่อเข้ากราบรูปเหมือน หลวงปู่จันทร์ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง ส่วนสองอดีตพระเกจิอาจารย์นามกระเดื่องดัง

กล่าวอาจจะมีผู้มีจิตศรัทธานำมาไว้ให้ผู้มีจิตศรัทธาได้กราบสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลแล้วจึงเข้านมัสการ หลวงพ่อแถม ในลำดับต่อไป การบันทึกประวัติครูบาอาจารย์ต่างๆ ก่อนจะถึงเรื่องประสบการณ์อภินิหารต่างๆ ต้องมีอัตประวัติเพื่อเป็นแนวทางจะได้รู้ว่าท่านนั้นเป็นใครมาจากไหนนั่นเอง เพื่อยกขึ้นไว้เป็นบุคคลผู้มีบุญญานุภาพ และเป็นที่เคารพกราบไหวของบุคคลโดยทั่วไป ด้วยบุญกุศลที่สร้างมาในภพในชาติต่างๆ มาจนถึงปัจจุบันชาตินั่นเอง

ด้วยอำนาจอิทธิฤทธิ์บุญญานุภาพของท่านที่ปฏิบัติมาโดยตลอด หลวงพ่อแถม ท่านจึงนั่งอยู่ในความศรัทธาของญาติโยมมาตลอด ทั้งจากถิ่นใกล้แดนไกลทั่วราชอาณาจักรแห่งประเทศไทย และมีบุคคลผู้ศรัทธาพระพุทธศาสนาต่างบ้านต่างเมืองยังมากราบนมัสการ การสนทนาคนละสำเนียงบอกถึงเสียงคนละภาษานั้น หากมีผู้รู้คอยอธิบายให้สื่อสารกันรู้ทั้งสอฝ่ายก็ไม่ใช่เรื่องแปลก หากมีคนพูดให้เข้าใจและแปลให้ฟัง ทุกคนร้อง ฮ้อ ด้วยความพึงใจ

ชีวประวัติ

หลวงพ่อแถม นามเดิมท่านคือ ถาวร นามสกุล หนูสิงห์ เกิดเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน 2485 บ้านเลขที่ 70 หมู่ที่ 7 ตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีพี่น้อง 5 คน ท่านเป็นลูกคนที่ 3 ของครอบครัว นายถม-นางมอม หนูสิงห์

บรรพชา

พ.ศ.2499 อายุ 14 ปี ได้บวชเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 16 เมษายน ที่วัดหนองกระทุ่ม อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี โดยมี พระครูขันตยารักษ์ (หลวงพ่อป่อง) เจ้าอาวาสวัดหนองกระทุ่ม อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งหลวงพ่อป่องนั้นในอดีตถือได้ว่าเป็นพระเกจิอาจารย์นามกระฉ่อนที่มีผู้เคารพศรัทธามากรูปหนึ่งของจังหวัดราชบุรี ได้ศึกษาหนังสือขอมจาก โยมตาพรหม ของท่านและ หลวงพ่อป่อง จนมีความชำนาญสามารถอ่านออกเขียนได้เป็นอย่างดี บวชอยู่ 3 พรรษา สิ้นวาสนาหมดบารมีในการบวช ขอลาสิกขาบทออกมาช่วยพ่อ-แม่ประกอบอาชีพอยู่ระยะหนึ่ง แต่ว่าท่านเกิดมาเพื่อบำรุงพระศาสนาโดยแท้จึงต้องกลับเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์อีกครั้งหนึ่งและเป็นแบบถาวร มอบกายถวายชีวิตเพื่อปฏิบัติของพระธรรมคำสั่งสอนของพระศาสดาโดยแท้ จึงกลับมาบวชอีกครั้งหนึ่ง

อภินิหารแห่งพุทธคุณ

หลวงพ่อแถม ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์เมืองเพชร ที่นั่งในใจของชาวบ้าน ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีจริยวัตรอันงดงามสงบเสงี่ยมอยู่ในศีลสังวรเมตตากับญาติโยมทุกคนที่เดินทางไปกราบไหว้ท่าน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่เลยที่คนเพชรตลอดจนผู้คนทั่วประเทศจะรู้จักท่านแต่ท่านเป็นผู้สมถะ ท่านจึงเป็นเนื้อบุญที่พุทธศาสนิกชนจะหว่านกุศลลงไว้ในทาง พระพุทธศาสนาโดยมีหลวงพ่อแถม ท่านเป็นสะพานบุญที่ทอดรองรับให้บรรดาสัตบุรุษทั้งปวงเดินข้ามสะพานบุญแห่งนี้ไปสู่สรวงสวรรค์ เมื่อชีพลับดับหายไปจากโลกมนุษย์ โดยอาศัยบุญกุศลหรืออาศัยบารมีหลวงพ่อแถมเป็นสื่อต่อเชื่อมระหว่างเมืองมนุษย์และเมืองสวรรค์ในอนาคตกาล หลวงพ่อแถมท่านเป็นผู้ใฝ่สันโดษคือในทุกปีของเดือน 3 ท่าน จะออกเดินธุดงคเข้าป่าทำจิตให้สงบฝึกสมาธิให้แก่กล้า แม้ในปัจจุบันจะไม่ค่อยมีป่าแล้วก็ตามท่านก็ยังออกวิเวกทุกปี

ประสบการณ์ในการออกธุดงค์ ท่านเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า ครั้งหนึ่งท่านไปปักกลดในป่าแถวน้ำตกป่าละอู นั่งเจริญกรรมฐานจนจิตสงบดีแล้ว รู้สึกว่าจิตมันโล่งโปร่งดีแล้วจึงถอนจิตออกมาและจำวัด จนค่อนฟ้าสางไก่ป่าโก่งคอขันระงมไพร ท่านจึงลุกขึ้นมานั่งพิจารณาหรือทำกรรมฐานอีกจนรุ่งเช้าสวดมนต์ทำวัตรเช้าอุทิศส่วนกุศลที่บังเกิดขึ้น ในการเจริญวิปัสสนา ครั้งนี้ให้เพื่อนร่วมโลก เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนสัมภเวสีที่ล่องลอยอยู่ในป่าเขา เทวดาพระภูมิเจ้าที่ แม่ธรณีเป็นที่ตั้ง

เมื่อกรวดน้ำแผ่ส่วนกุศลเสร็จสรรพจึงออกมาจากกลด ท่านว่าเห็นรอยเสือโคร่งขนาดใหญ่ที่สามารถกินคนหรือวัวควายตัวใหญ่ๆ ได้สบาย มานั่งเฝ้าท่านข้างกลดห่างกันไม่ถึง 2 วา ท่านเล่าว่าเสือมานั่งอยู่เมื่อไหร่ และเขากลับไปตอนไหนท่านไม่รู้เห็นแต่รอยเท้าที่เป็นรอยเดินและรอยที่เขามานั่งหมอบเฝ้าข้างกลดเท่านั้น จึงพิจารณาพื้นที่ละเอียดอีกครั้ง ท่านเล่าว่าเพราะท่านไปปักกลดขวางทางเสือลงกินน้ำ เขาจึงนั่งเฝ้ากลดทั้งคืน ซึ่งท่านเองก็คิดเหมือนกันว่า ทำไมราตรีนี้จึงเงียบสนิทผิดปกติทั้งราวไพร จักจั่น เรไร สัตว์ป่าจตุบท ทวิบาทเงียบสนิท ไม่มีเสียงหรีดร้องแม้แต่น้อย คงมีแต่ต้นและใบไม้โยกไหวเป็น
ครั้งคราวตามแรงลมที่พัดผ่านมาเท่านั้น ศิษย์หลวงพ่อแถมคนหนึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรม อยู่ที่อำเภอชะอำ เอากระบุงซ้อนๆ กันไว้ที่ใต้ถุนบ้าน เช้าตรู่วันหนึ่งจะนำกระบุงดังกล่าวออกไปขนข้าวเปลือก จึงรั้งออกมาทีละลูกแต่ว่ามีอยู่ลูกหนึ่งเมื่อใช้มือรั้งออกมา เหมือนมีอะไรพุ่งตรงชนที่แขนขวาอย่างแรง ตามออกมาด้วยน้ำสีเหลืองเหนียวๆ ติดแขนเต็มไปหมด จึงหันตามมองไปกับสิ่งที่เห็นผ่านตาอยู่แวบๆเล่นเอาใจหายวูบ เพราะเป็นงูเห่าที่พุ่งฉกกัดมาที่แขนเมื่อสักกะเดี๋ยวนั้นเอง ลงไปแผ่แม่เบี้ยกำลังลดหัวลงเพื่อจะหนีไป ด้วยความตกใจและประกอบกับในความคิดนั้นว่าที่งูฉกเมื่อสวนออกมาคงจมเขี้ยวเล่นเอาใจเสีย แปลกแต่ว่าเมื่อสำรวจดูแล้วไม่มีรอยกัดของงู มีแต่น้ำพิษที่ติดผิวหนังอยู่จำนวนมาก แต่ว่าทั้งเนื้อทั้งตัวของศิษย์หลวงพ่อแถมท่านนั้นไม่มีอะไรติดตัวเลย นอกจาก ?สายข้อมือไหม 7 สี เส้นเดียว?

ฉายา หลวงพ่อยางตัน หลวงพ่อแถมท่านเมตตาเล่าต่อผู้เขียนว่า มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านเอารถไปขนไม้ที่ทุ่งญวน ถ้าผู้เขียนจำไม่สับสนก็อยู่ห่างจากวัดช้างแทงกระจาดไปประมาณ 8 กิโลเมตร ยางรถเกิดระเบิดขึ้นมาไม้ก็อยู่เต็มรถแล้วหมดหนทางที่แก้ไข จึงบอกคนขับว่าออกรถเถอะ ด้วยเหตุอันใดอย่าไปสนใจเลยเอาเป็นว่าคนขับรถนั้นก็ว่าง่ายออกรถมาจนถึงที่หมายปลายทางโดยสวัสดิภาพ มีโยมที่ชะอำท่านหนึ่งผู้เขียนลืมชื่อไป หากเจอหลวงพ่อแถมที่ไหน จะเรียกหลวงพ่อยางตันมาแล้ว ติดปากมาตลอด

ถ่ายรูปไม่ติด

มีอยู่ครั้งหนึ่งมีคณะผู้ศรัทธาพาท่านไปเที่ยวนครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาชนลาว เมื่อไปถึงจังหวัดหนองคายต้องถ่ายรูปทำบัตรผ่านแดนชั่วคราว มีลูกศิษย์มานิมนต์ท่านไปถ่ายรูปท่านถามว่าถ่ายรูปอะไร ลูกศิษย์บอกว่าถ่ายรูปทำบัตรผ่านแดนชั่วคราว ท่านพูดเล่นกับศิษย์ท่านว่า ?ระวังจะถ่ายไม่ติดนะ? แล้วท่านเดินตามศิษย์ผู้นั้นไปถ่ายรูปตรงด่านผ่านแดนหนองคาย สักพักหนึ่งลูกศิษย์ท่านมาบอกว่าให้หลวงพ่อแถมไปถ่ายรูปใหม่ เพราะถ่ายไม่ติด ในขณะนั้นท่านรู้สึกปวดหัวและปวดเมื่อยตามตัว จึงขออยู่ในฝั่งไทยรอญาติโยมที่หนองคาย

สำหรับผู้ศรัทธาในอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของพระเกจิอาจารย์ ผู้เขียนแนะนำเชื่อว่าท่านจะไม่ผิดหวัง หากว่าท่านผู้อ่านศรัทธาตามบทความที่กล่าวถึง เพชรบุรีจากกรุงเทพฯใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ถึงแล้วเป็นการพิสูจน์ว่า 10 ปากว่าไม่เท่าตาเห็น 10 ตาเห็นไม่เท่ามือคลำ และด้วยวัตรปฏิบัติที่งดงามต่อญาติโยมทุกคน เชื่อว่าท่านผู้อ่านไปแล้วไม่ไปลับเพียงครั้งเดียว ครั้ง 2-3 จะตามมา เพราะหลวงพ่อแถมท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ควรค่าต่อการกราบไหว้ เพราะท่านเป็นพระปฏิบัติเรียบง่ายอยู่อย่างสมถะ นั่งในห้องของท่านต้อนรับญาติโยม เข้าใจว่าน่าจะจำวัดตรงนั้นที่หน้าโต๊ะหมู่บูชาด้านหลังที่นั่งของท่านนั่นเอง

(ที่มา : ย่อจาก ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1053 เดือนสิงหาคม 2553 : หลวงพ่อถาวร (แถม) สีลสังวโร วัดช้างแทงกระจาด ต.สามพระยา อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ภาพและเรื่องโดย..เมฆ เมืองชุมพร)

"""หลวงพ่อกุน วัดพระนอน"""




ในอดีตถ้ากล่าวถึงตะกรุดที่มีราคาแพงที่สุด คงไม่มีใครไม่รู้จักหลวงพ่อกุน วัดพระนอนพระดีเมือง
เพชรบุรีอีกรูปหนึ่งที่ทำตะกรุดได้เข้มขลัง ตะกรุดมหาระงับ นารายณ์สะกดทัพ และอื่นๆ เรียกได้ว่า
นักเลงในสมัยก่อนยังนำตะกรุดของหลวงพ่อ ไปลองแขวนไว้ที่เสาบ้านใครเป็นได้หลับไม่ตื่นกันทั้งบ้าน จะทำเสียงดังอย่างไรก็ไม่ตื่นกันเลยทีเดียว เรื่องเสน่ห์ก็เป็นเยี่ยมครับ
ท่านพระครูสุชาตเมธาจารย์ หรือหลวงพ่อกุน เกิดเมื่อวันพุธ เดือน ๖ ปีวอก พ.ศ.๒๔๐๓ ณ บ้าน
หนองกาทอง ตำบลโรงเข้ จังหวัดเพชรบุรี บิดาของท่านชื่ออะไรไม่มีใครทราบ ส่วนมารดามีชื่อว่า ม่วง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๕ คน เป็นผู้ชายทั้งหมด เมื่อเยาว์วัยมีนิสัยโน้มเอียงไปทางสมณะ กล่าวคือชอบนั่งบนจอมปลวกแล้ว เทศน์ให้เพื่อนฟังและในเวลาต่อมาท่านก็ได้มาอยู่วัดวังบัว ซึ่งอยู่ห่าง
จากบ้านประมาณ ๓ กิโลเมตร และได้บรรพชาเป็นสามเณร จนอายุครบ ๒๐ ปี ก็ได้อุปสมบทเป็น
พระภิกษุอยู่ที่วัดนี้
ในขณะที่บวชเป็นพระใหม่ ท่านมีความอุตสาหะเป็นอย่างมาก ได้เดินทางไปศึกษาวิชากับอาจารย์
แจ้ง บ้านอยู่ทางวัดดอนไก่เตี้ย และได้ศึกษาวิชาการที่วัดข่อยศึกษาทางช่างศิลป์กับ ท่านอาจารย์มุ่ย วัดใหญ่สุวรรณาราม และคุณพ่อฤทธิ์ (หนังใหญ่) วัดพลับพลาชัย ท่านบวชอยู่ ๓ พรรษา ก็ได้ย้ายมาอยู่
วัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน) สมัยพระครูสุวรรณมุนี ต่อมาได้เป็นสมุห์และเมื่อพระครูสุวรรณมุนี
มรณะภาพแล้ว ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) ต่อมาได้รับพระราชทาน
สมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูสุชาตเมธาจารย์
ทุกพรรษาท่านจะขึ้นไปนั่งบำเพ็ญกัมฏฐานในถ้ำ ในวิหารเล็กประมาณ ๗ วัน ท่านเล่าให้ศิษย์ฟังว่า ครั้งหนึ่งก่อนจะนั่งเข้าที่ ปลัดเทพ (พระครูสมณกิจพิศาล) เอาน้ำชามาถวายท่านรับไว้ พอเริ่มจะเข้าที่
ปรากฏเห็นเช่นนั้นอีก ท่านว่าเหมือนของจริงทุกอย่าง พอเอื้อมมือจะรับนึกขึ้นได้ว่าเพิ่งมาถวายเมื่อ
สักครู่นี้ จึงไม่รับท่านว่าเกือบเสียท่า
นอกจากนี้ท่านยังได้นำพระภิกษุในวัดออกธุดงค์ปีละหลายๆ องค์ และออกอยู่หลายปี พระภิกษุที่ออก
ธุดงค์กับท่านจะไปด้วยความมั่นใจ ไม่ว่าท่านจะไปทางเหนือหรือทางใต้ เป็นต้องมีพระภิกษุสมัครไป
ด้วยเสมอ
ตะกรุดของหลวงพ่อนั้นกล่าวขานกันว่า ตำหรับทำตะกรุดนี้จารึกไว้ในสมุดจีนใบปกเขียว ๆ รูปที่
เขียนเป็นเรื่องรามเกียรติ์ ตอนหนุมานถวายแหวน ขั้นตอนการทำก็พิถีพิถันมากหลวงพ่อท่านใช้ฤกษ์
เสาร์ห้า เป็นฤกษ์ในการลงอักขระเลยยันต์และปลุกเสก สถานที่ปลุกเสกท่านก็ไปปลุกเสกในป่าช้า
เจ็ดป่าช้า มีป่าช้าวัดพลับ วัดแก่นเหล็ก และวัดพระนอน เป็นต้น หลังจากนั้นพอถึงคืนวันเพ็ญเดือน
สิบสองหลวงพ่อท่านก็จะใช้ลูกสบ้ามอญ ลบถูรอยเหล็กจารที่ท่านได้จารไว้ออก และพอถึงฤกษ์เสาร์ห้า
ก็กลับไปจารที่ป่าช้าอีก ท่านทำเช่นนั้นจนครบ ๓ รอบท่านถึงจะนำออกมาแจกจ่ายแก่บรรดาลูกศิษย์
ลูกหา พุทธคุณนั้นเหล่าเรื่องมหาเสน่ห์ก็ไม่แพ้พระขุนแผนสำนักไหนเลยนะครับ ด้านตะกรุดโทน
มงกุฎพระเจ้ายันต์ที่ท่านลงและปลุกเสกในตะกรุด เรื่องมหาอุด อยู่ยงคงกระพันก็เยี่ยมครับ แต่สิ่งหนึ่ง
ที่หลวงพ่อท่านสั่งทุกคนที่ได้ของท่านไปว่า ขออย่างเดียวอย่าไปขโมยของเขา ถ้าไปขโมยของเขาก็จะ
ใช้ไม่ขึ้น
ของดีของหลวงพ่อกุนเลื่องลือมาก สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ปลัดเมืองเพชรบุรี ยังเคยมาขอของท่าน
เพื่อไปคุมครองตัวเลยครับ แต่ของดีของหลวงพ่อนั้นมีน้อย เพราะกว่าท่านจะทำออกมาแต่ละอย่างใช้
เวลามากขั้นตอนเยอะ เราๆ ท่านๆ คนรุ่นใหม่เลยหาของหลวงพ่อชมได้ยากครับ แต่ผู้เขียนยังโชคดี
หน่อยครับที่ได้เห็นได้คลี่ตะกรุดของท่าน หลายดอกอยู่เหมือนกันครับ
พระครูสุชาตเมธาจารย์ หรือหลวงพ่อกุน มีชีวิตอยู่จนถึงปี พ.ศ.๒๔๖๓ ท่านก็ป่ายด้วยโรคที่รักษา
ไม่หาย และมรณภาพลงด้วยอายุ ๖๐ ปี ๔๐ พรรษา นักเป็นการเสียบูรพาจารย์ที่สำคัญของเมืองเพชรบุรีไปอีกหนึ่งรูป

หลวงพ่อกุน วัดพระนอน วัดท่านติดเขาวังครับน่าเที่ยมมาก
เป็นวัดเก่าแก่อีกวัดหนึ่งของ จ.เพชรบุรี เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์
ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในสี่ของพระพุทธไสยาสน์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีความยาวถึง 43 เมตร ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง
เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามยิ่ง เชื่อกันว่าสร้างด้วยฝีมือสกุลช่างในสมัยอยุธยา
หมอนหนุนของพระพุทธไสยาสน์องค์นี้มีลักษณะเป็นทรงกลมแทนที่จะมีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยม
เดิมพระพุทธไสยาสน์ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯให้สร้างหลังคาคลุมไว้
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการซ่อมหลังคาใหม่ และสร้างผนังล้อมรอบองค์เป็นวิหารพระพุทธไสยาสน์
วัดพระนอน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขาวัง (พระนครคีรี) เป็นวัดเก่าแก่ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้าขึ้นเมื่อใด
สันนิษฐานว่าเป็นวั่ดที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นโบราณสถานประกาศให้ขึ้นทะเบียนเมื่อวันทั่ 8 มีนาคม พ.ศ.2478
เป็นพระพุทธรูปนอนขนาดใหญ่องค์หนึ่งในจำนวน 4 องค์ ที่มีอยู่ในเมืองไทย
วัดพระนอน เพชรบุรีนอกจากจะมีพระพุทธรุปสำคัญให้ได้สักการะกราบไหว้แล้ว
ยังมีพระเกจิอาจารย์ที่เลื่องชื่อในอดีต ได้แก่พระครูสุชาตเมธาจารย์ หรือ หลวงพ่อกุน วัดพระนอนครับ
เครื่องรางที่ขึ้นชื่อของหลวงพ่อกุน คือ ตะกรุดไมยราพสะกดทัพ 

ตะกรุดไมยราพสะกดทัพของหลวงพ่อกุนเป็นตะกรุดโทน ที่มีจำนวนการสร้างไม่มากนัก สัณนิฐานว่าประมาณ ๓๐๐ ดอก
ปัจจุบันเป็นตะกรุดในตำนานที่หายากยิ่ง พุทธคุณโดดเด่นทางคงกระพัน กันเขี้ยวงา และเป็นสะกดผู้คนให้หลับใหล
ได้เคยฟังเรื่องราวอานุภาพของตะกรุดไมยราพสะกดทัพ จากหลวงพ่อครูชาอาจารย์ที่เคารพนับถือ ได้บอกเล่าเรื่องราวไว้ว่า
"เคยเห็นเหมือนกัน ตอนนั้นยังไม่ค่อยได้สนใจทางนี้ มุ่งแต่เรียนทางธรรม ไปบิณฑบาต บ้านโยมคนหนึ่ง ยินรอสักพักเห็นเงียบผิดปกติ
มารู้ตอนหลังว่า หลับหมดทั้งบ้าน เพราะเมื่อคืนมีคนเอาตะกรุดของหลวงพ่อกุนไปแขวนไว้ที่รอดของบ้าน ขึ้นไปหุงข้าวต้มแกงกิน
ไม่มีใครรู้สึกตัว แต่ท่านห้ามไม่ให้หยิบของมานะ ผิดครู กินได้อย่าเอาของเขา คนโบราณเขาถือสัจจะมั่นคง ของถึงได้ขลัง
จากนั้นก็สนใจด้านนี้เรื่อยมา "
ท่านผู้เล่าบอกว่า "ตะกรุดหลวงพ่อกุน สะกดคนได้จริงๆ"
ตะกรุดชุดนี้จะจารเป็นทั้งอักขระัยันต์และรูปในเรื่องรามเกีิยรติ์ครับ ภาพประมาณ หนุมานถวายแหวน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ตะกรุดวันเพ็ญ"
ปัจจุบันการสร้างตะกรุดสายนี้สืบทอดมาถึงวัดเขากระจิว และวัดชายนา
ถึงจะไม่มีการจัดสร้างตะกรุดไมยราพสะกดทัพโดยตรง แต่ยังมีการสร้างตะกรุดวันเพ็ญพอกครั่งอยู่บ้าง ตะกรุดมหาระงับก็พอมี
ที่ชัดเจนคือ สายวิชา มหาอุดและคงกระพันตามตำรับเดิมยังคงมีอยู่
ส่วนตะกรุดไมยราพสะกดทัพ คงเป็นตำนานให้บอกเล่ากันต่อไป ของจริงเจ้าของเขาหวงกันสุดๆ

""หลวงพ่ออินทร์ อินทโชโต""


ท่านมีนามเดิมว่า อินทร์ พรหมโลก เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ปีจอ
ตรงกับวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2429 เป็นบุตรของ นายพรหม-นางนวม พรหมโลก
มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน ท่านเป็นคนที่ 7 เกิดที่บ้านไร่คา ตำบลลาดโพธิ์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ 14 ปี เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2442
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2524 เวลา 21.15 น. ได้ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ
รวมสิริอายุ 95 ปี 74 พรรษา ประวัติพระเทพวงศาจารย์ (อินทร์)

พระเทพวงศาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดยาง และเจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี นามเดิม “ อินทร์” ฉายา “อินทโชโต” สุกล พรมโลก บิดาชื่อพรหม มารดาชื่อนวม ถิ่นกำเนิด บ้านไร่คา ตำบลลาดโพธิ์

อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ถือกำเนิดเมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ปีจอ ตรงกับวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2429 ถึงแก่มรณภาพอายุได้ 95 ปี ถ้านับเวลาตั้งแต่บรรพชาและอุปสมบทรวมกันก็จะได้ 82 ปี เป็นพระมหาเถรรัตตัญญูอันหาได้ยากรูปหนึ่งของเมืองเพชรบุรี พระเดชพระคุณท่านพระเทพวงศาจารย์ สถิต ณ วัดยาง ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เป็นอธิบดีสงฆ์วัดนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478-2524 รวมเวลา 46 ปี

พระเทพวงศาจารย์ สมัยเมื่อยังมีชีวิตอยู่ เป็นผู้มีร่างกายแข็งแรง มีพลานามัยสมบูรณ์ทั้งสติและปัญญาและความคิดอ่านทันต่อเหตุการณ์ งานบริหารและปกครองคณะสงฆ์ในความรับผิดชอบของท่านเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและราบรื่น รวดเร็วและถูกต้อง แม้แต่จะเดินเหินก็คล่องแคล่วว่องไว จดจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้ดีเป็นพิเศษ มีความคิดริเริ่ม มีพลังกายใจสมบูรณ์ สามารถบริหารงานและและประสานงงานทั้งฝ่ายอาณาจัรกและพุทธจักรให้ดำเนินไปด้วยดี กอปรกรณียกิจยังประโยชน์แก่ทุกฝ่ายให้ถึงพร้อมอย่างน่าอัศจรรย์ ท่านเป็นผู้เพียบพร้อมด้วย วัยวุฒิ คุณวุฒิ และมีพรหมวิหารธรรมเป็นหลัก มีปรกติวิสัยสมเป็นสมณะโดยแท้

ชีวิตในวัยเยาว์ของพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระเทพวงศาจารย์เป็นไปตามแบบชาวชนบท โดยบิดาซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัวประกอบอาชีพทางการเกษตรและเป็นแพทย์แผนโบราณด้วยความวิริยะอุตสาหะในการประกอบอาชีพ จึงสามารถก่อร่างสร้างตัวจนเป็นหลักฐาน พระเทพวงศาจารย์มีพี่น้อง 8 คน คือ 1.นางชุ่ม ( ไม่ทราบสกุล) 2.นายศรี พรมโลก 3.นางเม้ย รวยเงิน

4.นางพงษ์ นุชประคอง 5.นายแก้ว พรหมโลก 6.นางพิมพ์ สุขโข

7.พระเทพวงศาจารย์ (อินทร์) 8.นางผาด (ไม่ทราบสกุล ) ปัจจุบันนี้ทุกคนได้ถึงแก่กรรมแล้ว

เมื่อท่านอายุได้ 3 ขวบ มารดามีน้องคนสุดท้อง ท่านได้แหยกไปอยู่กับยายอ่วม ซึ่งเป็นน้าของมารดา ยายเลี้ยงดูอย่าบุตรบุญธรรม โตขึ้นก็อยู่กับยายตลอดมา ได้ช่วยงานยายเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นปั่นด้าย เป็นต้น

การศึกษาเบื้องต้น
เมื่อท่านมีอายุได้ 10 ปี ยายส่งเข้าเรียนหนังสือไทย ไปเป็นลูกศิษย์วัดอยู่กับพระอาจารย์เฉยที่วัดวังบัว อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี เริ่มเรียนตั้งแต่ นอโม พุทธ่อ เป็นต้นไป

อาจารย์เฉยเป็นช่างเขียน ช่างปั้น ช่างแกะสลัก และช่างเงิน-ทอง ได้เรียนหนังสือบ้าง ได้ฝึกหัดทำงานช่างบ้าง โดยเฉพาะงานช่างเงิน เคยทำเสมา และลูกกระดุม เป็นต้น ทั้งยังได้รู้เห็นการเขียนภาพต่าง ๆ จากอาจารย์เฉยอีก โดยมากเป็นฉากมหาชาติ ภาพประจำคอสองศาลา และอื่น ๆ อีก ในขณะเดียวกันก็ได้เรียนหนังสือกับพระอาจารย์กุน เจ้าคณะอำเภอบ้านแหลม และเจ้าอาวาสวัดพระพุทธไสยาสน์ ซึ่งขณะนั้นพระอาจารย์กุนเป็นลูกวัดอยู่วัดวังบัว อยู่กับอาจารย์เฉยราว 3 ปี อาจารย์เฉยลาสิกขาบท จึงอยู่ในการปกครองของเจ้าอธิการพลับเจ้าอาวาสวัดวังบัว นอกนี้ยังได้เรียนมูลบทกับลุงหนู ซึ่งเคยทำงานเกี่ยวกับสมุหบัญชีในกรุงเทพ ฯ เป็นครั้งคราว นักเรียนที่เรียนในสมัยท่าน ใครอยากได้ความรู้อะไรก็ต้องขวนขวายเข้าหาครูบาอาจารย์เองถ้าไม่ท้อถอยเสียก่อนก็จะมีความรู้ตามที่อาจารย์ประสิทธิ์ประมาทให้ จนมีความสามารถใช้การหรือทำงานแทนอาจารย์ได้ นับว่าจบหลักสูตรตอนหนึ่ง ตอนนี้นับว่าท่านพอมีพื้นฐานอ่านเขียนหนังสือไทยได้ โดยอ่านพระมาลัยจบ แล้วยังได้เรียนหนังสือใหญ่ (ขอม) สนธิ นาม กับอาจารย์ อ่ำ วัดวังบัว อีกด้วย วัดวังบัวสมัยโน้นเป็นสำนักเรียนใหญ่แห่งหนึ่ง มีคณาจารย์อยู่หลายท่าน และมีพระจำพรรษาปีละ 70 รูปขึ้นไปล

บรรพชา
พออายุครบ 14 ปี ท่านก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2442 มีเจ้าอธิการพลับเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้เรียนธรรมบทกับพันนาทองอยู่ 1 ปี คือ ตลอดพรรษาแรกที่บรรพชา ต่อมาเห็นว่า ถ้าจะเรียนให้มีความรู้แตกฉานกว่านี้ขึ้นไปอีก ก็ต้องไปเรียนต่อในกรุงเทพมหานคร ซึ่งบริบูรณ์ด้วยอาจารย์ ท่านจึงได้เดินทางเข้าไปอยู่กับพระภิกษุฤทธิ์ ซึ่งเป็นบุตรของอา

อยู่ ณ วัดอรุณราชวราราม เรียนมูลกัจจายน์กับพระมหาฤทธิ์ (เปรียญ 4 ประโยค) และอาจารย์นวล ศึกษาอยู่ตลอดเวลา 6 ปี ต่อมาพระมหาฤทธิ์แปลบาลีในสนามหลวงได้เปรียญ 6 ประโยค และในปีนั้นเอง พระมหาฤทธิ์ก็ได้รับตราตั้งให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าคณะเมืองเพชรบุรี ได้เดินทางมาดำรงตำแหน่งอยู่ ณ วัดคงคาราม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี มีสมณศักดิ์ที่พระพิศาลสมณกิจ

ในเวลานั้นท่านก็ได้เป็นสามเณรอนุจรติดตามพระพิศาลสมณกิจผู้เป็นอาจารย์ มาอยู่ ณ วัดคงคาราม ซึ่งตรงกับเดือน 6 ขึ้น 6 ค่ำ ปีมะแม พ.ศ. 2450

อุปสมบทและการศึกษาเล่าเรียน
พอถึงวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 ตรงกับวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2450 ท่านยก็ได้อุปสมบทเห็นพระภิกษุ ณ วัดวังบัว โดยมีพระพิศาลสมณกิจเป็นอุปัชฌาย์ท่านเป็นองค์แรก พระครูสุวรรณมุนี (ฉุย) วัดคงคาราม เป็นกรรมวาจารย์ พระครูสุชาตเมธาจารย์ (กุน) วัดพระพุทธไสยาสน์ และพระอธิการพลับ วัดวังบัว เป็นอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทแล้วได้เรียนธรรมบทและมงคลทีปนี ซึ่งอยู่ในหลักสูตรเปรียญ ประโยค 3 และ 4 กับพระพิศาลสมณกิจ และอาจารย์แจ้งวัดจันทราวาส ด้วย

ผลของการเรียน ท่านเล่าให้ฟังว่า วันหนึ่งขณะแปลหนังสืออยู่กับพระพิศาลสมณกิจนั้ยนกรมพระสมมติอมรพันธุ์และกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ซึ่งโยเสด็จมากับพระพุทธเจ้าหลวงครั้งแปรพระราชฐานมายังเพชรบุรี) ได้เสด็จชมวัดวาอารามต่าง ๆ เมื่อเสด็จมาถึงวัดคงคาราม ทรงได้ยินการแปลหนังสือของท่านด้วย ก็ทรงสนับสนุนให้พระพิศาลสมณกิจอาจารย์ของท่าน ให้ส่งตัวท่านไปสอบไล่ในสนามหลวง ไม่ควรจะหวงเอาตัวท่านไว้ทำงาน ทรงรับรองว่าต้องแปลได้ไม่ต่ำกว่าประโยค 5 และจะทรงช่วยเหลือให้ความสะดวกต่าง ๆ ด้วย แต่ก็มีเหตุให้ท่านไม่ได้เป็นเปัยญอยู่จนได้ เพราะในครั้งกระนั้น การสอบบาลีในสนามหลวงมิได้มีทุกปี และหลังจากเสด็จกลับคราวนัน้แล้ว ต่อมาพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จสวรรคตเหตุการณ์ต่าง ๆ ก็เปลี่ยนไปอีกกล่าวคือ พ.ศ. 2452 ได้เป็นพระสมุห์ ฐานานุกรมพระพิศาลสมณกิจ พ.ศ. 2453 ได้เป็นพระปลัด ฐานานุกรมพระพิศฯาลสมณกิจ

ทำให้ท่านมีภาระหน้าเพิ่มมากขึ้น และยังจะต้องเป็นผู้บอกหนังสือให้กับพระภิกษุ-สามเณรอีกราว 20 รูป ระหว่างเช้า-บ่าย นักเรียนรุ่นนั้นต่อมาได้เปรียญหลายรูป พ.ศ. 2456 ได้เข้าเรียนนักธรรมที่วัดเบญจมบพิตร พระนคร ซึ่งคณะนั้นเริ่มจะเริ่มมีหลักสูตรการเรียนนักธรรมกัน และสอบไล่ได้นักธรรมประโยค 1 ในสำนักนั้น ใช้เวลาศึกษาอยู่ 8 เดือน ระยะเวลารี้ได้ฝึกเทศน์มหาชาติ มีกัณฑ์ทานกัณฑ์ เป็นต้น และยังได้ฝึกเทศน์ธรรมวัดด้วย

ปฏิบัติงานและพัฒนาวัด
เมื่อกลับมาจากวัดเบญจมบพิตรแล้ว ได้สร้างหอไตรขึ้นหลังหนึ่ง จีนหงชาวบ้านปากทะเลเป็นผู้ออกทุนทรัพย์ นายนิ่ม กลิ่นอุบล ผู้ทำลวดลาย ทำอยู่ 3 ปีจึงสำเร็จ ปัจจุบันหอไตรหลังนี้เก่าแก่ไปตามอายุ ตั้งอยู่บริเวณหน้าอุโบสถวัดคงคาราม นับได้ว่าหอไตรหลังนี้เป็นศิลปกรรมชิ้นแรกของท่าน นอกนนี้ยังได้เป็นหัวหน้าเผาอิฐ ทำกำแพงวัดคงคารามจนเสร็จเรียบร้อย พ.ศ. 2460

พรรษา 11 จึงได้ย้ายสำนักจากวัดคงคารามมาอยู่ ณ สำนักวัดยาง (วัดอยู่คนละฝั่งถนนข้าม) ติดตามพระพิศาลสมณกิจผู้เป็นอาจารย์ หลังจากนี้ต่อไป ท่านได้ทุ่มเทชีวิตจิตใจอยู่ในเรื่องศิลปะการช่าง งานที่ได้ทำส่วนมากก็มีธรรมาสน์เทศน์ เมรุเผาศพ ช่อฟ้าใบระกา หอระฆัง ศาลาและโบสถ์ เป็นต้น

มีธรรมาสน์อยู่หลายหลังซึ่งเป็นฝีมือของท่าน เช่น ที่วัดบัวงาม วัดหนองควง วัดสำมะโรง วัดปากคลองแหลมผักเบี้ย วัดใหม่ตีนครุฑ วัดแก้ว เมืองสมุทรสงคราม หอระฆังก็มีที่วัดยาง วัดหนองจอก วัดชะอำ เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีแปลนโบสถ์ แปลนศาลา อีกเป็นจำนวนมาก ท่านเป็นผู้มีความสามารถในการช่างโดยแท้ มีความคิดความเข้าใจหลักแหลม สามารถออกแบบและควบคุมการก่อสร้างด้วยตนเอง โดยที่ท่านก็ไม่ได้เล่าเรียนมาจากใครโดยตรง อาศัยการจดจำและการสังเกตด้วยตนเอง พร้อมทั้งได้ปฏิบัติจริง ๆ มีอะไรขัดข้องก็ไตร่ถามหรือขอคำแนะนำจากท่านผู้รู้ เช่น ขุนศรีวังยศ (ขันธ์ เกิดแสงสี) เป็นต้น ด้วยเหตุที่ท่านมีความรู้ ความสามารถบริบูรณ์พร้อม ท่านจึงได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดยางต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2478



อาพาธและมรณภาพ
สังขารของพระเทพวงศาจารย์ ได้ตรากตรำต่อการงานและหน้าที่มาตลอดเวลาอันยาวนาน ย่อมต้องเป็นไปตามสภาวธรรม คือ แปรปรวน บุบสลาย และแตกดับไปในที่สุด ทั้งก็เหมือนกันทุกรูปทุกนาม ท่านเริ่มมีอาการคันที่ผิวหนังอย่างมาก ตอนแรกเข้าใจกันว่าเป็นการแพ้ธรรมดา แต่แพทย์ได้ตรวจรักษาและงดสิ่งสงสัยเกี่ยวกับสาเหตุที่มาของอาการแพ้ อาการคันก็หาทุเลาลงไม่ ต้องเอามือเกาอยู่ตลอด ทำให้รู้สึกรำคาญและทรมานมาก ความเจ็บไข้ของท่านได้ทราบถึงสมเด็จพระสังฆราช จึงบัญชามาให้นำพระเทพวงศาจารย์เข้าตรวจรักษา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พร้อมทั้งนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบามสม้เด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อทรงทราบ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น โปรด ฯ ให้รับไว้เป็นคนไข้ของหลวง อยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์แต่นั้นมา อาการของท่านหาได้ทุเลาลงไม่ โดยแพทย์ให้การวินิจฉัยว่าเซลล์และน้ำเลี้ยงเสื่อมสภาพไปตามอายุ ไม่สามารถสร้างหรือผลิตสิ่งใหม่ให้มีคุณภาพแทนสิ่งที่สึกหรอหรือสูญหายไป จึงแสดอาการผิดปรกติขึ้น และการที่ร่างกายต้องนอนอยู่ในอริยาบถเดียวนาน ๆ ผิวหนังจะถูกกดทับ ทำให้โลหิตไหลเวียนไม่สะดวก เป็นเหตุให้ผิวหนังส่วนนั้นบวมพองกลายเป็นแผลในที่สุด ทำให้ท่านได้รับทุกข์ทรมานอย่างน่าสงสาร ไหนจะอาการคัน ไหนจะเป็นแผลพุพอง เพิ่มความไม่สบายใจต่อทุกท่านที่ไปเยี่ยม มองเห็นสุขภาพของท่านทรุดโทรมเรี่ยวแรงลดลงอย่างเห็นได้ชัด เป็นเสมือนเป็นเหตุบอกว่า ปูชนียบุคคลผู้เป็นที่พึ่งทางใจและศูนย์รวมแห่งศรัทธาหาได้ยากยิ่ง และด้วยความเห็นชอบของทุกฝ่าย จึงนำท่านกลับมาพักผ่อนที่วัด ภายหลังที่กลับมาจากโรงพยาบาลมาอยู่วัดยางแล้ว อาการคันและแผลพุพองบริเวณผิวหนังก็มิได้ลุเลาลง ทำให้กำลังท่านถดถอยลงทุกที ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2524 เวลาผ่านมา 15 วัน หลังจากกลับมาจากโรงพยาบาลเป็นเวลาที่มีความอ่อนเพลียที่สุดอย่างเห็นได้ชัด ร่างกายที่เคยเคลื่อนไหวได้บ้างก็สงบนิงไม่เปล่งเสียง ไม่แสดงอาการใด ๆ ด้วยอาการสงบ

"""หลวงพ่อนิ่ม มังคโล"""


ประวัติหลวงพ่อนิ่ม(มังคโล)วัดเขาน้อย อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์***

...ในระหว่างที่หลวงพ่อทองศุข อินทโชโต เป็นเจ้าอาวาสวัดโตนดหลวงนั้น มีพระคู่ใจของท่านเสมือนพระเลขาอยู่สององค์คือ ...(หลวงพ่อนิ่ม) ซึ่งต่อมาไปเป็นเจ้าอาวาสวัดเขาน้อย และอีกองค์หนึ่งคือ ...(หลวงพ่อจันทร์) ต่อมาไปเป็นเจ้าอาวาสวัดมฤคทายวัน...
...ทั้งสององค์นี้ได้รับการถ่ายทอดพุทธาคมจากหลวงพ่อทองศุขเอาไว้มาก เสมือนศิษย์รุ่นน้องอีกสององค์คือ ...(หลวงพ่อแผ่ว) ซึ่งต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดโตนดหลวง และ...(หลวงพ่อย้อน) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดโตนดหลวงองค์ปัจจุบัน...

...นอกจากนี้ลูกศิษย์ของหลวงพ่อทองศุขในเพชรบุรีมีอีกหลายองค์ เช่น หลวงพ่อจ่าง วัดเขื่อนเพชร, หลวงพ่อหวล วัดนิคม, หลวงพ่อเฮง(ห่วย) วัดห้วยทรายใต้, หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง, หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก เป็นต้นฯ...

...หลวงพ่อนิ่ม วัดเขาน้อย ท่านเป็นศิษย์ใกล้ชิดก้นกุฏิของ หลวงพ่อทองศุข ท่านได้จำพรรษาอยู่รับใช้ใกล้ชิดหลวงพ่อทองศุข ที่วัดโตนดหลวงอยู่นานถึง 20 ปี...

...หลวงพ่อนิ่ม สถานะเดิมชื่อ นิ่ม นามสกุล วัฒนพิชัย เกิดวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2452 ที่ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี ใช้ชีวิตในวัยเด็กช่วยบิดา-มารดาทำงานจนอายุได้ 22 ปี จึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดโตนดหลวง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี โดยมี พระครูแช่ม วัดนายาง จ.เพชรบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวัน วัดหนองศาลา จ.เพชรบุรี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระครูพินิจสุตคุณ (ทองศุข อินทโชโต) วัดโตนดหลวง จ.เพชรบุรี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า (มังคโล)...

...หลังจากนั้นหลวงพ่อนิ่มได้อยู่จำพรรษา ณ วัดโตนดหลวง รับใช้ใกล้ชิด หลวงพ่อทองศุข ในฐานะพระเลขา ดูแลการทำงานแทนหลวงพ่อ ขณะเดียวกันก็ศึกษาวิชาพุทธาคมจากหลวงพ่อทองศุข โดย หลวงพ่อทองศุขเมตตาไว้ใจและมอบวิชาพุทธาคมที่มีอยู่ทั้งหมดให้หลวงพ่อนิ่ม รวมทั้งอบรมกรรมฐานและวิปัสสนา จนหลวงพ่อนิ่มมีความเชี่ยวชาญทำของได้ขลัง...

...นาย เชิด วันเต็ม ชาวบ้านปากน้ำ อ.ปราณบุรี เล่าว่า มงคลวัตถุของหลวงพ่อนิ่มนั้นทุกรุ่น ล้วนมีความขลังความศักดิ์สิทธิ์ทั้งสิ้น โดยเฉพาะ พระปิดตาเนื้อผง เนื้อขี้ควาย เด็กในตลาดปราณบุรีทุกคนที่แขวน เมื่อไปหาหมอจะฉีดยาไม่เข้า จนต้องถอดพระออกจากคอ ส่วนตะกรุด ของหลวงพ่อนั้น นายเชิดว่าสามารถลอยน้ำได้ ลุงสนิท พลอยน้อย ผู้ร่วมสร้างวัดกับหลวงพ่อนิ่มเล่าว่า ผ้ายันต์ ของหลวงพ่อนิ่มมีความศักดิ์สิทธิ์มาก ทุกครั้งเมื่อมีการจัดงานที่บ้านจะต้องเอาผ้ายันต์ของหลวงพ่อนิ่มขึ้นไว้ ปลายเสาจุดธูปบอก รับรองว่าฝนไม่ตกทำให้งานเสีย...

...นอกจากนั้นลุงสนิท พลอยน้อย ได้เล่าว่า ขณะสร้างวัดเขาน้อยกับหลวงพ่อนิ่มนั้น ได้มีพ่อของ ครูแล ชื่นโม ร.ร.วัดเขาน้อย ขุดพบพระพุทธรูป สมัยอมราวดี ปางประทานพร เนื้อสัมฤทธิ์ หัก จึงเก็บไว้ในบ้าน หลังจากนั้นพ่อของครูแลก็ป่วยรักษาเท่าใดก็ไม่หาย หลวงพ่อนิ่มถามว่าที่บ้านมีพระหักๆ อยู่ไหม ครูแลบอกว่ามี จึงให้เอามาถวายไว้ที่วัด ปรากฏว่าหลังจากนั้นไม่นานก็หายป่วย พระองค์นี้มีความศักดิ์สิทธิ์มาก คนตาบอดมาอธิษฐานขอให้หายก็หายได้ หลวงพ่อนิ่มจึงได้สร้างองค์ใหญ่ไว้ และได้สร้างเหรียญรูปพระอมราวดีประทานพรไว้ด้วย ต่อมา นายดี จันทรเสน ได้ขุดพบรอยพระพุทธบาทที่บริเวณเขาน้อย หลวงพ่อนิ่มจึงได้สร้างมณฑปใส่ไว้และมีงานประจำปีทุกปี แสดงว่าบริเวณวัดเขาน้อยอาจมีร่องรอยเป็นสถานที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง มาแต่ในอดีตกาล...

"""หลวงพ่อตัด ปวโร"""


ประวัติหลวงพ่อตัด ปวโร พระพุทธวิริยากร วัดชายนาพระพุทธวิริยากร หรือ หลวงพ่อตัด ปวโร เป็นเจ้าอาวาส วัดชายนา หมู่ที่ 2 บ้านใน ต.หนองจอก อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี หลวงพ่อตัด วัดชายนา อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี อายุ 78 ปี พรรษา 58 ท่านโด่งดังมานานไม่ว่าจะเป็น ตะกรุดหลวงพ่อตัด หรือปลัดขิกหลวงพ่อตัด ท่านเป็นพระที่ชอบเรียนวิชาอาคมมาก สนใจตั้งแต่ยังหนุ่ม ท่านบอกว่า "สมัยก่อน ปี 2496 เอาหมด เอาทุกอย่างที่ไหนเขาว่าดีไปหมด ในกระจิวนี้ไปขอเรียนมาหมด..." พูดง่ายๆว่าตำราเก่าๆในจังหวัดเพชรบุรีนี้ท่านเรียนมาหมดหลวงพ่อตัด ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยเฉพาะวัตถุมงคล ตะกรุดเนื้อตะกั่ว ที่มากด้วยพุทธคุณและประสบการณ์ หลวงพ่อตัด ปวโร เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดเพชรบุรี มีประชาชนให้ความเคารพนับถือมาก แต่ด้วยความที่ท่านไม่เคยอวดตัว ไม่ยอมให้สัมภาษณ์หรือนำเสนอเรื่องราวประวัติของท่านหรือวัตถุมงคลไปลง หนังสือหรือรายการโทรทัศน์ใดๆ ทั้งสิ้น ทำให้ไม่สามารถสืบค้นประวัติในช่วงวัยเยาว์ได้อย่างละเอียด ทราบแต่เพียงว่าตาม ประวัติหลวงพ่อตัด ท่านบวชมาตั้งแต่เป็นสามเณร จนกระทั่งอุปสมบทหลังอุปสมบทได้ฝึกปฏิบัติธรรม และได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคม กล่าวได้ว่าตำราเก่าๆ ในจังหวัดเพชรบุรี ท่านศึกษาผ่านตาทั้งสิ้น เช่น เรียนวิชาการทำตะกรุด จากหลวงพ่อทอง วัดเขากระจิว และเรียนตำราของหลวงพ่อกริช ที่ตกทอดมาซึ่งเป็นพระยุคเก่าเป็นอาจารย์สายหลวงพ่อกุน วัดพระนอน เรียนทำปลัดขิก ซึ่งเป็นเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่ง จากหลวงพ่อชุ่ม วัดกุฏิบางเค็ม ซึ่งมีเคล็ดลับว่า "ให้ใช้ไม้ผูกคอตาย ทำถึงจะดี" และท่านยังได้เดินทางไปต่อวิชากับหลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง รวมทั้งอีกหลายอาจารย์ ท่านเป็นพระที่ใฝ่หาความรู้วิชาอาคมต่างๆ อย่างจริงจังหลวงพ่อตัด เป็นคนพูดตรงๆ เหมือนคนไทยสมัยก่อน ผู้ที่เคยเข้าไปหาหลวงพ่อครั้งแรกจะตกใจ เนื่องจากหลวงพ่อเป็นคนพูดตรง ทำให้มองภาพลักษณ์ท่านเป็นคนดุ แต่ใจดี พูดคำไหนคำนั้น ไม่ชอบคนเซ้าซี้วกวน อยากได้อะไรบอกท่านไปตรงๆ ได้ คือได้ ไม่ได้ คือ ไม่ได้ หลวงพ่อตัด ท่านไม่ใช่พระพูดหวานหู แต่ค่อนข้างโผงผาง ออกจะเหมือนเล่นตัว แต่ถ้าคุ้นเคยจะทราบดีว่าท่านใจดี คุยได้ทุกเรื่อง แต่อย่าคุยเรื่องของที่ท่านทำว่าวิเศษอย่างไร ดีอย่างไร ท่านไม่ตอบ หลวงพ่อตัด ท่านมักจะพูดแต่ว่า "มาทำไม กูไม่ได้ศักดิ์สิทธิ์อะไร พระบ้านนอก ไม่มีอะไร" ครั้งหนึ่ง มีลูกศิษย์จากกรุงเทพฯ เดินทางไปหาท่าน เข้าไปกราบ ท่านถามว่า "มาจากไหน" ลูกศิษย์ บอกว่า "มาจากกรุงเทพฯ จะมากราบท่าน" หลวงพ่อตัดท่านตอบไปว่า "ที่กรุงเทพฯ ไม่มีพระหรือวะ ถึงมาถึงนี่ กราบทำไม กูไม่ได้ศักดิ์สิทธิ์อะไร"บางครั้งก็มีลูกศิษย์ให้ท่านช่วยรดน้ำมนต์ให้ "หลวงพ่อช่วยรดน้ำมนต์ให้หน่อย" หลวงพ่อตัด บอกทันทีว่า "รดทำไม พื้นเปียกหมด" แต่สุดท้าย ท่านก็รดน้ำมนต์ให้ ดังมีแม่ค้าจำนวนมากมาหาหลวงพ่อตัด เพื่อขอ วัตถุมงคลหลวงพ่อตัด วัดชายนาไปเก็บไว้เพื่อให้ค้าขายดี หลวงพ่อตัด กลับบอกว่า "กูไม่มี ถ้าต้องการขายดี ก็ต้องขายให้ราคาถูก" ท่านจะพูดในทำนองนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะโดนหลวงพ่อดุ แต่คนเหล่านั้น ล้วนต้องกลับมาหาหลวงพ่ออีก เพราะหลวงพ่อใจดี ถึงบางครั้งจะพูดจาดุด่าบ้าง แต่ก็เป็นการพูดตักเตือนตามความเป็นจริง

หลวงพ่อตัด ปวโร วัดชายนา จ.เพชรบุรี สำหรับวัตถุมงคล พระเครื่องหลวงพ่อตัด วัดชายนา มีชื่อเสียงด้านเมตตามหานิยม วัตถุมงคลที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ตะกรุดและปลัดขิกผูกคอตาย โดยเฉพาะ ตะกรุดหลวงพ่อตัด วัดชายนา จะโด่งดังมากในทางคงกระพันชาตรี ส่วนปลัดขิกหลวงพ่อตัด ก็ไม่ธรรมดาเมตามหาเสน่ห์ดีเยี่ยม ทำให้หลวงพ่อมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เคยมีลูกศิษย์เรียนถามท่านว่า "ตะกรุดหลวงพ่อตัด มีข้อห้ามอะไรบ้าง"ท่านบอกว่า "พ่อแม่ คือ พระ อย่าด่าว่าพ่อแม่ ทั้งของเราแล้วของคนอื่นเค้า ถือศีล 5 ไว้ ของจะดีเพราะคนมันดี"ลูกศิษย์เรียนถามท่านว่าแขวน ตะกรุดหลวงพ่อตัด "ลอดราวผ้า เสื่อมหรือเปล่า" ท่านบอกว่า "ตะกั่วมันก็เป็นตะกั่ว ตะกรุดก็คือตะกรุด ไม่มีเสื่อม ไม่ได้ห้าม ของดีอยู่ที่ใจคนใช้มันดี ใจมันไม่ดี ของก็ไม่ดี" ผู้ที่เลื่อมใสท่าน เข้าไปหาท่านที่วัดชายนา ท่านจะนำตะกรุดมาแจกทั้งสิ้น ถ้าท่านไม่อยู่ จะมีลูกศิษย์คอยนั่งแจกทั้งวัน ในส่วนวัตถุมงคลที่อยู่ในตู้ให้ทำบุญ หลวงพ่อจะสร้างวัตถุมงคล เพื่อนำปัจจัยที่ได้มาซ่อมแซมบูรณะโบสถ์ ซึ่งมีพระกริ่ง พระผง รูปเหมือนและเหรียญ มีประชาชนไปบูชาทำบุญกับท่านไม่ได้ขาด แต่พอปัจจัยที่ได้ในการบูรณะโบสถ์เพียงพอแล้ว หลวงพ่อท่านจะสั่งปิดตู้งดบูชาทันที

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2551 เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา หลวงพ่อตัด ได้รับโปรดเกล้าฯพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์จาก พระครูบวรกิจโกศล เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระพุทธวิริยากร แม้ด้วยวัยใกล้ 80 ปีแล้ว แต่หลวงพ่อตัด มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง แต่ทว่าในช่วงเช้าวันที่ 3 พฤษภาคม 2552 หลวงพ่อได้ออกเดินตรวจความเรียบร้อยรอบวัดเหมือนปกติ กระทั่งช่วงเวลาประมาณ 07.00 น. พระในวัดได้ยินหลวงพ่อบอกว่าแน่นหน้าอก จุกแน่นตั้งแต่ช่วงท้องไปจนถึงหน้าอก หายใจไม่ออก คณะลูกศิษย์ จึงได้นำหลวงพ่อตัดไปโรงพยาบาลท่ายาง อ.ท่ายาง แต่ไม่ทันการณ์ ด้วยหลวงพ่อตัด สิ้นลมหายใจและมรณภาพลง ในเวลา 07.37 น. คณะแพทย์ระบุเบื้องต้นเกิดจากอาการหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันหลวงพ่อตัด วัดชายนา มรณภาพแล้ว วงการพระเครื่องวัตถุมงคลและพุทธศาสนิกชนเมืองเพชรบุรี ได้ถึงวาระกาลสูญเสียพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกรูป ด้วย "หลวงพ่อตัด ปวโร" แห่งวัดชายนา จ.เพชรบุรี มรณภาพลง ในวัย 78 ปี พรรษา 58 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2552 หลังจากเกิดอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออกอย่างกะทันหัน พระลูกวัดและคณะศิษย์ รีบนำเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลท่ายาง แต่ไม่ทันการณ์ หลวงพ่อตัดได้มรณภาพลงระหว่างทาง คณะแพทย์ลงความเห็นว่า หลวงพ่อตัด วัดชายนา มรณภาพแล้ว ด้วยอาการหัวใจล้มเหลว และได้นำศพหลวงพ่อตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดชายนา สร้างความเศร้าสลดอาลัยเป็นอย่างยิ่ง เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2552 เวลา 13.00 น. คณะกรรมการวัด ได้เคลื่อนย้ายศพ พระพุทธวิริยากร หรือหลวงพ่อตัด ตั้งบำเพ็ญกุศล ณ ศาลาการเปรียญของวัด เพื่อประกอบพิธีรดน้ำศพหลวงพ่อ โดยมีพระเถรานุเถระและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในจังหวัด เดินทางมาร่วมรดน้ำศพเป็นจำนวนมาก ส่วนเวลา 17.00 น. นายชาย พานิชพรพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีรับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพนอกจากนี้ หลวงพ่อตัด วัดชายนา ได้เขียนห้ามมิให้นำร่างออกหาทุน มีข้อความว่า "ศพของเรา ห้ามฎีกา ออกหาทุน เกณฑ์ชาวบ้าน มารวมหุ้น ให้วุ่นวาย มีเท่าไร ทำเท่านั้น ตามสบาย ไม่มีข้อควรละอายอย่างไร"สำหรับศพหลวงพ่อตัด ตั้งสวดพระอภิธรรมศพเพียงแค่ 7 วัน ตามความประสงค์ของหลวงพ่อตัด ที่ได้สั่งเสียไว้ก่อนมรณภาพ ทั้งนี้ จะมีพิธีสวดพระอภิธรรมศพไปจนถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2552 และประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ เวลา 16.00 น. วันที่ 10 พฤษภาคม 2552

"หลวงพ่อแดง พระครูญาณวิลาศ"


"หลวงพ่อแดง" แห่งวัดเขาบันไดอิฐ ท่านเป็นพระเกจิที่มีญาณสมาธิแก่กล้า มีจิตตานุภาพสูงพอที่จะเพ่งเครื่องรางให้ขลังได้ ผ้ายันต์และเหรียญลงยันต์ของหลวงพ่อแดงจึงมีผู้นิยมเ สาะหาไปบูชากันมาก แม้ท่านจะมรณภาพไปตั้งแต่ 16 มกราคม พ.ศ. 2517 แต่ความนิยมเลื่อมใสศรัทธา ความเชื่อมั่นในกฤตยาคม อภินิหาร และอาคมขลังในวัตถุมงคลของท่านก็ยังไม่เสื่อมคลาย หลวงพ่อรูปนี้ท่านมีอะไรดี ทำไมใครๆ ทั่วสารทิศจึงพากันมาวัดเขาบันไดอิฐกันไม่ขาดสาย... "หลวงพ่อแดง" หรือ "พระครูญาณวิลาศ" เกิดที่ ต.บางจาก อ.เมือง จ.เพชรบุรี บิดาชื่อนายแป้น มารดาชื่อนางนุ่ม นามสกุล อ้นแสง เกิดเมื่อวันพุธ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 11 พ.ศ. 2422 ในวัยเด็กท่านก็ช่วยพ่อแม่ทำไร่ ทำนา ไม่มีโอกาสร่ำเรียนหนังสืออย่างเด็กสมัยนี้จนกระทั่ง อายุ 20 ปี พ่อแม่ก็หวังจะให้บวชเรียน จึงพาไปฝากกับท่านอาจารย์เปลี่ยน วัดเขาบันไดอิฐ เพื่อจะได้เล่าเรียนและบวชเป็นพระภิกษุต่อไป พระภิกษุแดงเมื่อได้บวชก็ประพฤติเคร่งครัดต่อพระวินั ยและปฏิบัติต่อพระอาจารย์เปลี่ยนเป็นอย่างดี อาจารย์เปลี่ยนจึงรักใคร่มากกว่าศิษย์คนอื่นๆ และยังไดสอนวิชาการวิปัสสนา และวิธีนั่งปลงกัมมัฏฐานให้ รวมถึงถ่ายทอดวิชากฤตยาคมให้อย่างไม่ปิดบังหวงแหน เหตุนี้จึงทำให้พระภิกษุแดงเพลิดเพลินในการศึกษาวิชา ความรู้ จนลืมสึก ยิ่งนานวันก็ยิ่งสำนึก ในรสพระธรรม ก็เลยไม่คิดสึกเลย จึงกลายเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่มีอาวุโสสูงสุด จนกระทั่งพระอาจารย์เปลี่ยนมรณภาพลง พระภิกษุแดงรับหน้าที่เป็นสมภารวัดเขาบันไดอิฐแทน กลายเป็น "หลวงพ่อแดง" ตั้งแต่ พ.ศ. 2461 เป็นต้นมา และแม้ท่านจะได้เป็นสมภารซึ่งต้องมีภารกิจมาก แต่ท่านก็ยังปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิในถ้ำเพื่อแสวงหาวิมุตติภาวนาทุกวัน ญาณสมาธิจึงแก่กล้า จิตนิ่ง บริสุทธิ์ จนว่ากันว่าท่านมีหูทิพย์ ตาทิพย์ หลวงพ่อแดงไม่เคยอวดอ้างในญาณสมาธิของท่าน แต่ผลของความศักดิ์สิทธิ์ในเลขยันต์เป่ามนต์ของท่านก ็ได้สำแดงออกมาให้ประจักษ์ว่าคุ้มครองป้องกันภัยได้แ น่ๆ โดยมีเรื่องเล่ากัน นระหว่าง พ.ศ. 2477 ถึง พ.ศ. 2480 เวลานั้นเกิดโรคระบาดสัตว์ วัวควายเป็น โรครินเดรอ์เปรส ซึ่งเป็นโรคปากเท้าเปื่อยที่ติดต่อร้ายแรง พากันล้มตายเป็นเบือ สัตว์แพทย์ก็ไม่มี ต้องขอให้ทางการมาช่วยฉีดยา ราษฎรจึงพากันไปหาหลวงพ่อให้ช่วยปัดเป่าป้องกันโรคระ บาดสัตว์ให้ด้วย หลวงพ่อแดง จึงปลุกเสกลงเลขยันต์ในผืนผ้ารูปสี่เหลี่ยมเล็กๆ แจกให้ชาวบ้านที่เลี้ยงวัวควายนำไปผูกปลายไม้ปักไว้ท ี่คอกสัตว์ของตน ปรากฏผลว่า คอกสัตว์ที่ปักผ้าประเจียดยันต์หลวงพ่อแดงไม่ตายเลย ทุกบ้านในตำบลใกล้เคียงวัดเขาบันไดอิฐ เมื่อรู้กิตติศัพท์จึงพากันมาขอยันต์หลวงพ่อแดงทุกวั นมิได้ขาด กระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 คือมหาสงครามเอเชียบูรพา มีทหารญี่ปุ่นมาขึ้นที่ประจวบคีรีขันธ์ ก็เกิดการต่อสู้กับทหารอากาศของไทยที่นั่น ชาวเพชรบุรีก็ตระหนกตกใจ แล้วชักชวนกันหาหลวงพ่อแดง ท่านก็ลงผ้าประเจียดยันต์แจก ให้คุ้มครองป้องกันตัว

เมืองเพชรบุรี เมื่อ พ.ศ. 2487 เกิดภัยสงครามชนิดร้ายแรง มีระเบิดลงทุกวันทำลายสถานีรถไฟ สะพานข้ามแม่น้ำ บ้านเรือน โรงเรียนต้องสั่งปิด ข้าราชการไม่ได้ไปทำงาน ทุกหน่วยราชการปิดหมด และปรากฏเรื่องเป็นที่ฮือฮาว่า บ้านคนที่มีผ้ายันต์หรือห้อยเหรียญหลวงพ่อแดง กลับไม่ได้รับอันตรายใดๆ เลย หลวงพ่อแดงจึงดังใหญ่ จนสิ้น สงครามโลกครั้งที่ 2 กิตติคุณของหลวงพ่อในทางกฤตยาคมจึงปรากฏความศักดิ์สิ ทธิ์แพร่หลายยิ่งขึ้น ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อแดง ปรากฏอีกครั้ง เมื่อเกิดคอมมิวนิสต์ญวนเหนือบุกญวนใต้ ประเทศไทยต้องส่งกองพันเสือดำ ออกไปช่วยพันธมิตรรบในญวนใต้ ก็ปรากฏว่าทหารไทยที่ไปปฏิบัติหน้าที่รบในเวียดนาม คนที่มีเหรียญหลวงพ่อแดงห้อยคออยู่ ไม่ถูกอาวุธเป็นอันตรายแก่ชีวิตสักคน ทั้งๆ ที่เข้าประจัญบานอย่างหนัก เป็นที่สงสัยของเพื่อนทหารต่างชาติว่าทหารไทยมีของดี อะไร ได้รับคำตอบจากทหารไทยว่ามี "เหรียญหลวงพ่อแดง" ท่านเป็นพระใจดีมีเมตตาสูง และอารมณ์ดีเสมอ ไม่ชอบดุด่า ว่าใคร โดยเฉพาะคำหยาบคายถึงพ่อแม่ ท่านห้ามขาด ท่านว่าทุกคนเขาก็มีพ่อมีแม่ การด่าถึงบุพการีทำให้ความดีงามเสื่อมถอย ถึงห้อยพระพระท่านก็ไม่คุ้มครอง

หลวงพ่อแดง มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่ออายุ 96 ปี พรรษาที่ 74 ก่อนตายท่านเคยพูดกับพระปลัดบุญส่ง ธมัมปาโล รองเจ้าอาวาสวัดขณะนั้นว่า "เมื่อฉันหมดลมหายใจแล้วอย่าเผา ให้เก็บร่างฉันไว้ที่หอสวดมนต์ และให้เอาเหรียญที่ปลุกเสกรุ่น 1 ใส่ปากไว้พร้อมเงินพดด้วง 1 ก้อน ส่วนนี้ฉันเอาไปได้และให้เอาขมิ้นมาทาตัวฉันให้เหลืองเหมือนทองคำ" พระบุญส่งจึงรับปาก และได้ทำตามที่หลวงพ่อประสงค์ทุกอย่างและหลังจากที่หลวงพ่อแดงมรณภาพแล้วก็ได้เกิดเหตุอัศจ รรย์ที่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า อภินิหารของหลวงพ่อแดงมีจริง กับผู้หลักผู้ใหญ่ของเมืองเพชรบุรีท่านหนึ่ง ซึ่งจู่ๆ ท่านก็มีนิมิตฝันเห็นบ่อน้ำโบราณที่ซ่อนตัวอยู่ใต้ต้ นก้ามปูใหญ่ พอขุดก็พบบ่อน้ำนั้นจริงๆ บ่อน้ำแห่งนี้หลวงพ่อแดงเคยพูดไว้สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ว่าเป็น "บ่อน้ำวิเศษ" และขณะที่ขุดยังพบ "หัวพญานาคสีขาว" แบบปูนปั้นอยู่ที่ก้นบ่อด้วย 1 หัว เมื่อชาวบ้านรู้ข่าวก็พากันแห่มาเพื่อจะตักน้ำเอาไปใช้กันแต่ปรากฏว่าพบงูใหญ่ตัวหนึ่งนอนขดอยู่ใต้สังกะสีที่เอาไว้ปิดปากบ่อ ชาวบ้านที่เห็นบอกว่า ลักษณะงูที่เห็นนั้นมีหงอนที่หัวด้วย ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่มีชาวบ้านกล้าเข้าไปตักน้ำที่บ่อนี้อีกเลย ที่น่าแปลกอีกก็คือ นายตำรวจท่านหนึ่งซึ่งเคยมาช่วยงานในวัดก็ฝันเห็นหลว งพ่อแดง ท่านมาต่อว่า "ทำอะไรทำไมไม่บอก" นายตำรวจก็ไปเล่าให้พระปลัดบุญส่งเจ้าอาวาสรูปปัจจุบ ันฟัง ท่านก็ไม่เชื่อแล้วยังสั่งให้ย้ายศาลเก่า 2 ศาล บริเวณเชิงเขาบันไดอิฐเพื่อปรับปรุงบริเวณ โดยไม่ยอมทำพิธีเซ่นไหว้เจ้าที่เจ้าทาง เพราะท่านเป็นคนไม่เชื่อไสยศาสตร์ ปรากฏว่าพอตกเย็นก็เกิดอาการผิดปกติ อยู่ๆ คอก็เริ่มบิดและตัวแข็งไปทั้งตัว ขยับไม่ได้ ชาวบ้านมาเยี่ยมเห็นว่าอาการหนักมากจึงช่วยกันพาส่งโ รงพยาบาลเปาโล แต่พอถึงโรงพยาบาล อาการที่เป็นกลับหายราวปลิดทิ้ง และเมื่อเอ็กซเรย์พร้อมตรวจอย่างละเอียดก็ไม่พบว่าเป ็นอะไรเลย และระหว่างที่นอนพักรักษาตัวอยู่ ท่านก็พูดออกมาคนเดียวโดยไม่รู้ตัวว่า
"ของดีมีอยู่ ผ่านไปผ่านมาไม่ใช้ต้นก้ามปูตรงนั้นเป็นบ่อน้ำ ให้ขุดลงไปแล้วจะเจอ มีของดีทำไมไม่รักษา" ในภายหลังที่ออกจากโรงพยาบาลแล้วพระปลัดบุญส่งก็ได้ฝ ันอีกครั้ง ในความฝันท่านเห็นคนนุ่งผ้าถกเขมรมาหา มาบอกว่าเขาเป็นคนมัดหลวงพ่อเอง พูดแล้วเขาก็เอามือรีดที่ตัวหลวงพ่อเหมือนรีดเอาไขมั นออก ทั้งขาและแขน จนหลวงพ่อพระปลัดบุญส่งสะดุ้งตื่นและพอตื่นขึ้นมาก็ย ังเห็นผู้ชายคนนั้นอยู่ในห้องพอถามชื่อ เขาก็ถอยออกไปแล้ว ตอบกลับมาว่า "เขาเป็นเปรต" จากนั้นก็หายวับกลายเป็นแสงไฟ พร้อมเสียง "วี๊ด" ดังมาก ซึ่งพระในวัดก็ได้ยินกันทั่ว เรื่องนี้ได้ทำให้ "พระปลัดบุญส่ง" เจ้าอาวาสวัดเขาบันไดอิฐรูปปัจจุบัน ยังยอมรับว่าไสยศาสตร์และอภินิหารของหลวงพ่อแดงนั้นมีจริงเพราะเจอแล้วด้วยตัวท่านเอง