วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

"""หลวงพ่อชม จนฺทโชติ"""


หลวงพ่อชม จนฺทโชติ นามเดิม ชม นุชนาถ เกิด เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๕ ตรงกับปีวอก บ้านวังปืน ตำบลบ้านหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี บิดา – มารดา นายนุช นางแจ่ม นุชนาถ ประวัติ หลวงพ่อชม จนฺทโชติ อุปสมบท การศึกษาเมื่อยังเด็ก บิดา มารดาได้นำไปฝากกับ เจ้าอธิการแหยม วัดสิงห์ เรียนหนังสือไทยและขอม จนพออ่านออกเขียนได้ อีกทั้งบิดายังได้ถ่ายทอดวิชาเกี่ยวกับยาและการรักษาให้ จนมีความชำนาญ สามารถตรวจรักษาคนไข้ได้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๖ ประวัติความมีชื่อเสียง หลังจากอุปสมบทได้รักษาพยาบาลพระภิกษุ สามเณรที่อาพาธ ตลอดจนญาติโยมชาวบ้าน จนมีชี่อเสียงโด่งดังด้านการรักษาและหมอน้ำมนต์ อุปนิสัยของพ่อประการหนึ่ง คือ ชอบเล่นแร่แปรธาตุ โดยเฉพาะ ปรอท ปี พ.ศ. ๒๔๔๒ หลวงพ่อชมอายุได้ ๒๗ ปี ท่านเจ้าอธิการแหยมถึงแก่มรณาภาพ จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส สืบต่อมา เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านและพระภิกษุสามเณร และเป็นครูบาอาจารย์ที่ดุมาก ปี พ.ศ.๒๔๘๐ อายุ ๖๕ ปี ๔๔ พรรษา ได้รับแต่งตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์ และเป็นหมอยาประจำตำบลหนองโสน วัตถุมงคลที่ขึ้นชื่อ วัตถุมงคลที่โดดเด่นของหลวงพ่อชม มี ๒ ชนิด คือ เชือกคาดเอว มีอานุภาพทางด้านคงกระพันชาตรีเป็นเลิศ และพระปิดตามหาอุตม์ ประกอบด้วย เนื้อเมฆพัตร เนื้อทองแดงเถื่อน และเนื้อตะกั่ว หลวงพ่อชม มรณภาพ เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๔๘๖ รวมสิริอายุ ๗๑ ปี

หลวงพ่อพระอธิการชม วัดสิงห์ เป็นพระเถระที่เรืองเวทย์วิทยาคมอย่างเอกอุ ท่านได้สร้างพระเครื่องวัตถุมงคลเอาไว้หลายอย่างอาทิ พระปิดตา และพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ แต่ที่นักสะสมเครื่องรางของขลังนิยมยกย่องมีอยู่อย่างหนึ่งที่ยังคงครองอันดับอยู่ในยุทธจักรเครื่องรางอันได้แก่เชือกคาดของหลวงพ่อชมนั่นเอง

ความเป็นมาของเชือกคาด เชือกคาดเป็นวัตถุอาถรรพ์ที่นิยมกันมาแต่โบราณ ใช้แทนเข็มขัดเวลานุ่งผ้าโจงกระเบน หรืองกางเกงอย่างอื่นที่นิยมกันหากไม่คาดเอวก็ม้วนแล้วคาดแขนแทนมงคลแขนได้ เชือดคาดมีความมุ่งหมายอยู่ สองอย่าง คือ คงกระพัน และกันเขี้ยวงูอสรพิษขบกัด โดยเฉพาะประการหลังนั้นสำคัญที่สุด หลวงพ่อโชติ วัดตะโน ท่านนั่งหลังขดหลังแข็งทำเชือกคาดก็ด้วยเหตุว่าท่านไม่ต้องการให้ชาวบ้านชาวสวนต้องได้รับภัยจากอสรพิษที่ขบกัดเพราะแถบนั้นมีงูเห่าชุมเป็นพิเศษทีเดียว และก็ไม่เคยมีสักรายเดียวที่จะมีเชือกคาดของหลวงพ่อแล้วจะถูกงูเห่ากัด นับว่าเป็นยอดมาก
การสร้างพระเครื่องเชือกคาดตามขั้นตอน เชือกคาดนั้นตามที่ได้ยินได้ฟังและศึกษามาพระอาจารย์เจ้าท่านจะใช้ผ้าขาวปิดปากโลงผีตายวันเสาร์เผาวันอังคาร หรือจะเอาเฉพาะตายวันเสาร์หรือวันอังคารชนิดตายโหงก็ได้ หรือไม่เช่นนั้นก็ใช้ผ้าขาวดาดเพดานเมรุก็ได้เช่นกัน ทำพลีเอามาไว้ใช้งานเมื่อได้แล้วก็ฉีกออกเป็นริ้วๆตามยาวภาวนาเรียกสูตร ลงอักขระตามที่ประสิทธิประสาทตกทอดกันมาแต่เดิม จนกระทั่งครบสูตรจึงนำมาถักขึ้นหัวเสียก่อนจึงจะถักตัวต่อมาตามขนาดผู้ที่ต้องการ ถักไปภาวนาไปเรื่อยๆจนเสร็จเป็นเส้นจึงทำห่วงสอดหัวตรงปลายเข้าไว้เป็นเสร็จพิธีการนำไปปลุกเสกอีกครั้งหนึ่งเพื่อความแน่ใจ หลวงพ่อโชติ วัดตะโน ก็ใช้วิธีนี้เช่นเดียวกันหากแต่ว่าลายถักเท่านั้นที่ผิดกันออกไป
การพิจารณาเชือกคาดของหลวงพ่อชม
1.หัวเชือกคาด หัวเชือกคาดของหลวงพ่อชมจะถักกลมเป็นลายเดียวกับลูกตะกร้อ ขนาดใหญ่เล็กไม่เท่ากันแล้วแต่ความยาวและกว้างของเส้นเชือก และหากเดาะดูจะรู้สึกว่ามีน้ำหนักก็เพราะหลวงพ่อท่านได้ใส่พระปิดตาบ้างใส่ลูกอม โลหะที่ท่านเทเอาไว้จากโลหะที่ท่านเล่นแร่แปรธาตุได้ก็มี
2.ลายถักของเชือกคาด จะเป็นลายพิรอดติดกัน โดยตลอดตรงกลางเรียบเสมอกัน(ของหลวงพ่อโชติ วัดตะโนถักเป้นลายกระดูกงูตรงกลางเป็นสัน) อย่างนี้เรียกว่ามาตรฐาน แต่ในตอนหลังความต้องการมากขึ้นท่านก็ต้องบอกให้พระและเณรที่อยู่ในวัดเป็นผู้ถัก ลายถักก็คงเป็นตามหลักก็คือหัวเป็นตะกร้อ แต่ตัวเส้นเชือกอาจจะมีการถักเป็นแบบพิรอดแต่มิได้ติดกันมีเว้นระยะเป็นข้อๆก็เคยพบเห็นกันอยู่เสมออย่างสงสัย
3.รักที่ลงเชือก เชือกคาดของหลวงพ่อชม วัดพระสิงห์นั้นลงรักหมดทุกเส้นจึงสามารถสังเกตความแห้งเก่าของรักได้อีกทางหนึ่ง เชือกของศิษย์สายของท่านนั้นรักยังไม่เก่าพอจึงยุติการพิจารณากันที่รักบนเส้นเชือกนี่เอง
การปลุกเสก เท่าที่ศิษย์สายตรงของหลวงพ่อชมได้ยินได้ฟังและเคยได้เห็นตรงกันว่าหลวงพ่อชมจะเอาเชือกคาดที่สำเร็จแล้วมาวางเรียงกันแล้วภาวนาคาถาส่งพลังจิตไปยังเชือกคาด เชือกคาดเหล่านั้นจะเกิดการม้วนตัวขยุกขยิกเหมือนงูส่วนหัวที่เป็นตะกร้อจะสอดเข้าไปในบ่วงร้อยที่ปลายเส้นเชือกทุกเส้นเป็นเสร็จพิธีกรรมเส้นใดบริกรรมแล้วไม่สอดเข้าบ่วงให้เอาออกมาทิ้งไปถือว่าอักขระวิบัติมาแต่ต้นใช้ไม่ได้ และเส้นใดที่บริกรรมจนสอดเข้าหากันได้ดังกล่าวเอามาใช้ติดตัวจะเกิดอำนาจคุ้มครองป้องกันตัวได้เป็นอย่างดี

1 ความคิดเห็น: