วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

"""หลวงพ่อหว่าง อุตตฺโม"""""


หลวงพ่อหว่าง อุตตฺโม อดีตเจ้าอาวาสวัดปากคลองปราณ
หลวงพ่อหว่าง อุตตะโม เกิดปี พ.ศ.2395 ที่หมู่บ้านหนองไม้แดง ต.หนองข้าวเหนียว อ. กุยบรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ บิดาชื่อ นายยิ้ม มารดาชื่อนางแดง นามสกุลเครือมาก มีพี่น้องท้องเดียวกัน 3 คน เป็นชาย 1 หญิง 2 คือ
1. นางดำ เครือมาก
2. หลวงพ่อหว่างอุตะโม
3. นางสุก เครือมาก
เนื่องจากท่านเป็นบุตรชายคนเดียว บิดามารดามีฐานะดีในสมัยนั้นท่านจึงได้รับการตามใจมาก นิสัยของท่านจึงติดไปทางนักเลงไม่กลัวใคร พอเย็นใกล้ค่ำท่านจะสะพายดาบพร้อมปืนคาบศิลาออกเที่ยวกลับจนสว่าง ท่านปฏิบัติตนเช่นนี้ หนังสือก็ไม่ได้เรียน ท่านจึงไม่สามารถอ่านเขียนหนังสือๆได้ แต่ท่านมีความสามารถพิเศษ คือ การเขียนตัวหนังตลุงที่สวยงามมาก จนท่านอายุได้ 35 ปี จึงคิดเข้าอุปสมบทในปี พ.ศ.2430 ที่วัดนาห้วย อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีพระอธิการจู เจ้าอาวาสวัดนาห้วย เป็นอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อ่ำ วัดนาห้วยเป็นคู่กรรมวาจา ท่านเป็นคนฉลาดจำแม่นทั้งที่อ่านหนังสือไม่ออก ท่านก็พยายามท่องจำตามคำบอกเล่าของพระจนสามารถท่องจำการขานนาคและบวชได้ในพรรษานั้นเมื่อบวชเป็นพระแล้วเริ่มศึกษาพระธรรมวินัยและเรียนหนังสือไทยขอม (หนังสือใหญ่) สวดมนต์ต่างๆได้อย่างคล่องแคล่วและแตกฉาน
หลวงพ่อหว่างท่านได้ย้ายออกจากวัดนาห้วยมาอยู่วัดบ้านคอยเดิม ต.ปากน้ำปราณและต่อมาได้ย้ายมาสร้างวัดใหม่ที่วัดปากน้ำปราณ แต่ชาวบ้านเรียกว่าวัดปากคลองปราณ มีชาวลบ้านถิ่นนั้นได้ยกที่ดินให้ท่านสรน้างวัดขึ้น โดยความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านได้สร้าง
สร้างวัดปากคลองปราณ
ก่อสร้างกุฏิสงฆ์ หอฉัน หอสวดมนต์
สร้างหอระฆัง
สร้างอุโบสถ (ไม่ใช่หลังปัจจุบัน)
สร้างรูปหล่อตัวท่าน และอาจารย์ของท่านไว้ให้ศิษย์บูชา
ปัจจุบันถาวรวัตถุดังกล่าวได้ชำรุดทรุดโทรมตามสภาพของกาลเวลาที่ยังคงอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นของที่บูรณะซ่อมแซมจากเจ้าอาวาสองค์ตอมาทั้งสิ้น ในบรรดาพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ท่านนับเป็นยอดหนึ่งในสามยอดของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งจะมีหลวงพ่อนาค วัดหัวหิน หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก และหลวงพ่อหว่าง วัดปากคลองปราณซึ่งทั้ง 3 องค์เป็นศิษย์สำนักวัดนาห้วย อำเภอปราณบุรี ทั้งสิ้น ในสมัยนั้นนับเป็นตักศิลาของผู้ชอบพุทธาคมและไสยศาสตร์มาก เกจิอาจารย์ทั้งหลายองค์ที่สำเร็จพุทธาคมไสยศาสตร์และวิปัสสนาธุระ จากวัดนาห้วย เป็นวัดที่โด่งดังมากจนมีคำพังเพยเรียกกันว่า "เสื้อยันต์วัดนาห้วย ผ้าประเจียดวัดหัวหิน"
ได้มีข้อกล่าวหาท่านให้ต้องอธิกรณ์ในทางเสื่อมเสีย สมเด็จพระสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณโวรส ได้เสด็จมาสอบสวนท่านในเรื่องนี้และได้สร้างกุฏิแดง (ขณะนี้รื้อถอนแล้วไว้เป็นที่ประทับ 1 หลัง ที่วัดอัมพาราม อ. หัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งสมัยนั้นมีหลวงพ่อนาคเป็นเจ้าอาวาส สอบสวนแล้วท่านไม่มีความผิดจึงพ้นข้อหาไป หลวงพ่อหว่างได้ร่วมกับขุนอารีประชากร (ยา) ซึ่งเป็นกำนันปากน้ำปราณสมัยนั้น ย้ายวัดเดิมจากวัดบ้านคอยมาสร้างใหม่ โดยยกกุฏิเสนาสนะในวัดบ้านคอยเดิมมาปลูกที่ใหม่ซึ่งอยูติดถนนทางเข้าปากน้ำปราณบุรี ประมาณปี พ.ศ.2440 และตั้งชื่อวัดใหม่ว่าวัดปากคลองปราณ
หลวงพ่อหว่าง ได้มีวิชาพุทธาคมมากโดยเรียนกับหลวงพ่อมาก (หลวงพ่อในกุฏิ)วัดกุยบุรี และหลวงพ่อสุข วัดมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ท่านได้เรียนวิชาเก่งกล้าแตกฉานโดยเรียนวิชาแพทย์ มหาประสานตงกระพันชาตรี แคล้วคลาดมหาอทุตยดและมายาศาสตร์ต่างๆ นอกจากนี้ยังเรียนวิชาเสื้อยันตืจากหลวงพ่อจู วัดนาห้วย วิชาจินดามนต์ จากหลวงพ่อแก้ววัดพวงมาลัยที่แม่กลอง ท่านได้ใช้วิชาพุทธาคมช่วยเหลือชาวบ้านมากมายในราวสมัยรัชกาลที่ 4 มื่อคราวมีกองทัพพม่าลงมากวาดต้อนครอบครัวคนไทยทางด่านสิงขร จ. ปทระจวบคีรีขันธ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จแปรพระราชฐานมาประทับที่ พระราชนิเวศน์มฤคทายวันก็โปรดให้เข้าเฝ้า และเยี่ยมเยียนเฝ้า และเยี่ยมเยียนท่านเป็นประจำพร้อมทั้งนำลาภผลถวายท่านเสมอ หลวงพ่อหว่างจึงเป็นที่เคารพนับถือของชาวเมืองปราณบุรีและประจวบคีรีขันธ์อย่างมากแทบทุกบ้านที่ปากน้ำปราณจะมีรูปท่านไว้สักการะบูชาเสมอท่านได้มรณพภาพในปี พ.ศ.2460 รวมอายุได้ 65 ปี 30 พรรษา นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของชาวปากน้ำปราณและอำเภอปราณบุรี

หลวงพ่อหว่างวัดเขากะโหลกเป็นพระรูปเดียวกันกับหลวงพ่อหว่างวัดปากคลองปราณต.ปากน้ำปราณอ.ปราณบุรีจ.ปขหลวงพ่อหว่างอุตฺตโมอดีตเจ้าอาวาสรูปแรกวัดปากคลองปราณท่านเกิดพ.ศ. 2395 มรณภาพ พ.ศ. 2460 สิริอายุประมาณ 65 ปีเป็นพระยุคเก่ารุ่นหลวงพ่อเงินวัดบางคลานจ.พิจิตรก็ว่าได้เป็นพระที่มีชื่อเสียงโด่งดังในจังหวัดประจวบฯมานานแล้วพอๆกับหลวงพ่อในกุฎิอ.กุยบุรีแต่นักนิยมสะสมพระเครื่องส่วนใหญ่รู้จักหลวงพ่อเปี่ยมวัดเกาะหลักและหลวงพ่อนาควัดหัวหินมากกว่าเพราะเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อทั้งสองดังมากมูลค่าการสะสมหลักแสนส่วนเหรียญหลวงพ่อหว่างอุตฺตโมออกที่วัดปากคลองปราณเป็นเหรียญดอกจิกรุ่นแรกปี 2496 ไม่ทันหลวงพ่อแต่ได้หลวงพ่อหรุ่น(อรุณ)ศิษย์หลวงพ่อหว่างปลุกเสกท่านเก่งมากหลวงพ่อหรุ่นท่านมีวาจาสิทธิ์พูดคำไหนคำนั้นดุพระเณรลูกวัดและญาติโยมรู้ว่าท่านใจดีกล้าขอท่านก็กล้าให้ไม่เคยขัดเรื่องผูกดวงทำนายนักษัตรราศีปีเกิดดังตาเห็นเลขเบอร์หรือวันที่มรณภาพท่านรู้ล่วงหน้าได้มีเรื่องราวปาฏิหาริย์เกี่ยวกับหลวงพ่อหรุ่นมากมายสมัยท่านยังอยู่หลวงพ่อหรุ่นไม่สนใจสร้างเหรียญและวัตถุมงคลเท่าไรนักท่านเน้นเคร่งวัตรปฏิบัติมากปัจจุบันศพท่านไม่เน่าเปื่อยหลวงพ่อหรุ่นเป็นพระดีและเก่งมากแต่ขาดการประชาสัมพันธ์ทำให้ผู้นิยมสะสมพระเครื่องไม่ค่อยรู้จักอัตโนประวัติของท่านมากนักเหรียญหลวงพ่อหว่างรุ่นแรกจึงมีประสบการณ์มากมายคนพื้นที่ตามเก็บมานานจนในระยะไม่กี่ปีมานี้มูลค่าการสะสมเหรียญหลวงพ่อหว่างอุตฺตโมรุ่นแรกเนื้อทองแดงทะยานเข้าสู่หลักหมื่นและหลายหมื่นในเนื้อเงินและใกล้แสนในเนื้อทองคำ(เนื้อทองคำมีคนในพื้นที่ครอบครองอยู่)มี3เนื้อแต่จำนวนทั้ง 3 เนื้อหลวงพ่อหรุ่นสร้างไว้ปริมาณไม่มากเพราะเหรียญหลวงพ่อหว่างรุ่นแรกค่อนข้างหายากมากมีเท่าไรคนพื้นที่รับซื้อไม่อั้น มาในปีพ.ศ. 2530 วัดเขากะโหลก(วัดสุมนาวาส) ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ออกเหรียญเสมาหลวงพ่อหว่างอุตฺตโมรุ่นแรกของวัดขึ้นปรากฏว่ารุ่นนี้เจ้าอาวาสวัดเขากะโหลกปลุกเสกเองแล้วยังนำไปเข้าพิธีมหาพุทธาภิเษกในสมัยปี 2530 หลายพิธีมากพระดังอย่างหลวงพ่อยิดวัดหนองจอกก็ปลุกเสกด้วยจนทำให้เหรียญมีประสบการณ์ด้านมหาอุตม์คงกระพันแคล้วคลาดโชคลาภครบเครื่องปัจจุบันเหรียญหลวงพ่อหว่างรุ่นแรกหายากจึงใช้รุ่นนี้แทนคุ้มครองป้องภัยได้เช่นกันมี 2 เนื้อๆ ทองแดงรมดำ(นิยม) และทองแดงรมน้ำตาลทั้งหมดรวมสร้างประมาณ 3,000 เหรียญ หลวงพ่อหว่างชื่อท่านเป็นมงคลนามมากท่านชื่อสว่างชาวบ้านคนพื้นที่เรียกสั้นๆตามภาษาถิ่นว่าหลวงพ่อหว่างๆถือเป็นเทพเจ้าแห่งท้องทะเลของชาวประมงแถบอ่าวไทยมาช้านานศักดิ์สิทธิ์มากๆสมัยท่านมีชีวิตอยู่มีเรื่องเล่ายืนยันจากคนรุ่นเก่าได้เป็นอย่างดีว่าหลวงพ่อหว่างอุตฺตโมสามารถแสดงทฤธิ์ปาฏิหาริย์กลายร่างเป็นเสือสมิงและพญาจระเข้การได้บนบานศาลกล่าวขอบารมีหลวงพ่อหว่างอุตฺตโมเป็นไปตามตั้งจิตอธิษฐานสมประสงค์ทุกเรื่องเพียงแค่เป็นรูปภาพของท่านก็ยังศักดิ์สิทธิ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น